ปัจจุบันการระดมทุน หรือ Crowdfunding ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของธุรกิจแต่เพียงเท่านั้น อีกทั้งการตั้งรับไม่ใช่แค่การสร้างความเปลี่ยนแปลงเดียวขององค์กรเพื่อสังคมในยุคดิจิทัล การดำเนินงานขององค์กรเพื่อสังคมจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ให้องค์กรมีเงินทุนหมุนเวียน สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้หลากหลายและรวดเร็ว
Crowdfunding คืออะไร
Crowdfunding คือ การระดมทุน โดยการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งองค์กรก็จะมีการแนะนำรูปแบบและลักษณะการดำเนินการขององค์กรให้แก่ผู้คนได้ทราบ เพื่อการตัดสินใจของผู้คนที่จะเข้ามาร่วมสนับสนุน
การระดมทุนแบบนี้ผู้ประกอบการ หรือ องค์กรและธุรกิจเพื่อสังคม (social enterprise) จำเป็นต้องนำเสนอโครงการหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขององค์กรออกไปสู่สาธารณะ หรือให้แก่ผู้ที่สนใจจะสนับสนุนได้ทราบถึงรายละเอียดของการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นการจัดระดมทุนที่เข้าถึงผู้คนได้มากยิ่งขึ้น และสร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งระหว่างองค์กร ผู้สนับสนุน และชุมชนได้เป็นอย่างดี
แนวโน้มการระดมทุนจากคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น
จากการสำรวจพบว่าปัจจุบันคนรุ่นใหม่หันมาสนใจเรื่องราวการเคลื่อนไหวของสังคมมากยิ่งขึ้น และการระดมทุนเพื่อสังคมนั้นก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจไม่แพ้กัน โดยพบว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมาคนกลุ่ม Gen Z (อายุระหว่าง 9 – 24 ปี) มีอัตราในการบริจาคมากขึ้นถึง 2 เท่า ซึ่งปัจจัยหลักของการบริจาคก็เพื่อมุ่งหวังให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นผล ดังนั้นอาจกล่าวได้เลยว่า การระดมทุนแบบ Crowdfunding นั้นเหมาะต่อองค์กรเพื่อสังคมและกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก
การระดมทุนแบบ Crowdfunding สำหรับองค์กรเพื่อสังคม
เราสามารถแบ่ง Crowdfunding ได้ด้วยกัน 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างออกไป และ อาจไม่ได้เหมาะกับทุกกระบวนการ แต่จะเหมาะสมที่สุดในขั้นแรกเริ่ม ซึ่งเราจะมาดูกันว่าการระดมเงินทุนมีกี่วิธีกันบ้าง ดังนี้
1. Donation-based Crowdfunding
Crowdfunding ในรูปแบบนี้ คือการระดมทุนจากผู้คนจำนวนมาก ส่วนใหญ่เพื่อบริจาคให้แก่องค์กรการกุศล มูลนิธิต่างๆ ซึ่งจะเป็นการระดมทุนเพื่อกิจกรรมในระยะสั้น ดังนั้นจึงเป็นการระดมทุนที่ผู้บริจาคหวังเพียงแต่ “ความสุขทางจิตใจ” มากกว่าผลตอบแทนอื่นๆ จากการลงทุน
ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรเพื่อสังคม หรือมูลนิธิต่างๆ รวมไปถึงธุรกิจ Startups ที่ไม่ได้หวังผลตอบแทนทางการเงิน ดังนั้นองค์กรหรือธุรกิจเพื่อสังคมต่างๆ จึงจะต้องมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้สอดรับกับความสนใจ และคอยมีการกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการบริจาคให้แก่กลุ่มผู้สนใจให้ได้
ข้อดีของ Donation-based Crowdfunding
- ไม่มีการชำระคืน หรือการแลกเปลี่ยนด้านการลงทุน หรือหุ้นต่างๆ โดยจะเป็นการระดมทุนแบบให้เปล่าแก่องค์กรเพื่อสังคมเท่านั้น
- เป็นการระดมทุนเพื่อการกุศลโดยให้การสนับสนุนต่อการเคลื่อนไหวต่างๆ ของสังคม เพื่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาสังคม
- เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กร สังคมและชุมชน รวมไปถึงผู้ร่วมระดมทุน ซึ่งจะส่งผลดีต่อกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคตภายภาคหน้าได้ด้วยเช่นกัน
ข้อเสียของ Donation-based Crowdfunding
- วิธีระดมทุนขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของโครงการ และกลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมระดมทุนอาจจะไม่กว้างมากนัก
- ไม่สามารถรับรองได้ว่าการระดมทุนจะบรรลุเป้าที่ตั้งไว้ได้หรือไม่
- การเปิดการระดมทุนออนไลน์ทำให้ต้องเปิดเผยรูปแบบโครงการบางส่วนออกไปสู่สาธารณะจึงทำให้แนวคิดหรือโครงการต่างๆ ถูกผู้อื่นนำไปใช้ทำตามหรืออาจเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
- หากนำลงแพลตฟอร์มตัวกลาง ก็อาจมีข้อจำกัดหรือนโยบายที่ต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามเพิ่มเติม ซึ่งบางแพลตฟอร์มอาจไม่สามารถตอบรับความต้องการหรือตัวตนขององค์กรได้อย่างเต็มที่
2. Reward Crowdfunding
การระดมทุนในรูปแบบนี้ ผู้ที่ร่วมระดมทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็นรางวัล ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่างๆ ของบริษัท อาจมีการประชาสัมพันธ์โครงการแบบออนไลน์ โดยใช้ Influencer มาเพื่อดึงดูดและสร้างความน่าสนใจให้แก่โครงการได้มากยิ่งขึ้น
เหมาะกับธุรกิจที่กำลังเริ่มพัฒนาผลิตสินค้าและบริการใหม่ออกมา เพื่อให้ผู้คนเกิดความสนใจและอยากที่จะทดลองใช้สินค้าและบริการใหม่ๆ นี้ หรืออาจจะเป็นการให้ผลตอบแทนผ่านการให้ของสมนาคุณหรือของที่ระลึกเพื่อดึงดูดกลุ่มผู้สนใจให้มาบริจาคเฉยๆ ก็ย่อมได้
ข้อดีของ Donation-based Crowdfunding
- สามารถสำรวจความสนใจของตลาดได้ผ่านการนำเสนอโครงการต่างๆ
- เป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการล่วงหน้าให้แก่ผู้ที่สนใจ
- มีการสร้างฐานลูกค้า และเป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ที่มีความสนใจในตัวสินค้าและบริการ เอาไว้ก่อนการผลิตหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จริง
- ไม่ต้องเสียหรือสละสิทธิ์ทางทุนทรัพย์ขององค์กร
ข้อเสียของ Donation-based Crowdfunding
- เป็นการระดมทุนที่มีสองด้าน หากได้ผลตอบรับที่ดีก็จะส่งผลดีต่อองค์กร หรือถ้าไม่ดีก็อาจจะต้องเสียทรัพยากรในการลงทุนเบื้องต้นไป
- การมอบของตอบแทน หรือของสัมมนาคุณของโครงการอาจมีค่าใช้จ่ายมากกว่าที่คิด และต้องใช้เวลาในการดำเนินการที่เพิ่มมากขึ้น
- ปัจจัยความสำเร็จ หรือตัวแปรของโครงการมีหลากหลายปัจจัยทั้งตัวผลิตภัณฑ์ การโฆษณา ระยะเวลา เป็นต้น ซึ่งบางอย่างอาจยากต่อการควบคุม
3. Peer to Peer Lending
Peer to Peer Lending คือวิธีระดมทุนแบบกู้ยืม โดยจะเป็นการกู้ยืมเพื่อนำเงินไปใช้ในการดำเนิน และประกอบกิจการทางธุรกิจ ซึ่งจะคล้ายกับการกู้ยืมสินเชื่อส่วนบุคคล ผู้ให้กู้ก็จะได้รับผลตอบแทนคืนเป็นเงินต้น การชำระสินเชื่อพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะต้องชำระในอัตราที่มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ โดยผู้ให้กู้อาจเป็นกลุ่มนักลงทุน หรือในประเทศไทยนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อดีของ Donation-based Crowdfunding
- ไม่ต้องเสียสิทธิ์ในการถือครองของบริษัทเมื่อได้ชำระสินเชื่อครบถ้วนแล้ว
- มีกระบวนการดำเนินงานของการระดมทุนที่รวดเร็วกว่าการรับสินเชื่อจากธนาคาร
- มีรูปแบบกำหนดการชำระที่คงตัว ซึ่งทำให้สามารถวางแผนธุรกิจในขั้นต่อไปได้
- อาจมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่ากรณีการระดมทุนอื่นๆ ตามอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ และระยะเวลาของการชำระสินเชื่อ
ข้อเสียของ Donation-based Crowdfunding
- ต้องมีการวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้าให้ดี เนื่องจากเป็นการระดมทุนแบบหนี้ที่ต้องชำระคืน
- ค่าดอกเบี้ยก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่ต้องรับภาระในการใช้จ่ายคืนตลอดอายุของสินเชื่อที่กู้ยืมไป
- ความเสี่ยงต่อเครดิตของบุคคลผู้กู้ยืมหรือองค์กรที่จะต้องรักษาความน่าเชื่อถือเอาไว้ เพื่อผลที่ดีต่อการรับเงินทุนในอนาคต
- ความเสี่ยงจากสินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ เนื่องจากการระดมทุนแบบนี้บางทีต้องมีการใช้หลักทรัพย์ส่วนตัวในการรับรอง เพื่อป้องกันการชำระหนี้ที่ไม่ตรงตามสัญญา
4. Investment Crowdfunding
เป็นการระดมทุนแบบหลักทรัพย์ที่จะมีแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นตัวกลาง เปรียบเสมือนตลาดให้แก่กลุ่มนักลงทุนได้เข้ามาเลือกลงทุน โดยผู้ที่ระดมทุนนั้นมักเป็นกลุ่มธุรกิจ Startups หรือ ธุรกิจที่ต้องการที่จะแสวงหาเงินทุนเพื่อการหมุนเวียนธุรกิจ เพื่อการดำเนินกิจการหรือเพื่อการขยายธุรกิจ จึงต้องการความร่วมมือทางด้านการลงทุนจากนักลงทุนหลายๆ ท่าน
โดยแพลตฟอร์มเพื่อการระดมทุนนั้นจะเป็นแพลตฟอร์มที่มีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์เข้ามาดูแลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการกำหนดระยะเวลาชำระ และดอกเบี้ยคืนอย่างเป็นระบบ
ข้อดีของ Donation-based Crowdfunding
- ได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนเป็นจำนวนมากผ่านการระดมทุนในรูปแบบนี้
- สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับกลุ่มนักลงทุนได้
- สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทรัพยากร และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างเครือข่ายผู้ลงทุนได้เป็นอย่างดี
ข้อเสียของ Donation-based Crowdfunding
- ต้องสูญเสียสิทธิ์การครอบครองหรือการตัดสินใจบางประการให้แก่กลุ่มนักลงทุน
- มีความซับซ้อนทางด้านกฎหมายมากยิ่งขึ้นจากการมีผู้ลงทุนที่หลากหลาย และอาจทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรเพิ่มจากการดำเนินการทางกฎหมาย
- จำเป็นที่จะต้องมีการทำแบบรายงานที่เพิ่มขึ้นให้แก่กลุ่มผู้ลงทุนได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของโครงการและธุรกิจ
- มีความกดดันในการผลิต และการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมักแสวงหาผลตอบแทนทางการเงินจากการลงทุน
- การแบ่งสันปันส่วนในการครอบครอง และผลประโยชน์ทางการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นที่จะต้องมีการคิดวิเคราะห์ และวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อให้ตอบสนองตัวของธุรกิจหรือนักลงทุนได้
Cheewid Crowdfunding Platform เพื่อทุกชีวิต
เราเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเพื่อทุกชีวิต ก่อตั้งขึ้นจากความคิดที่ว่าทุกคนล้วนแล้วแต่อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงจากจุดเล็กๆ ไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกที่ยิ่งใหญ่ต่อสังคม แต่ยังไร้ข้อมูล และแนวทางที่ยั่งยืน
Crowdfunding Platform ของ Cheewid เป็นช่องทางการระดมทุนออนไลน์ เพื่อทำให้ผู้ที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง และองค์กรเพื่อสังคมในประเทศไทย มีช่องทางสู่การร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ตลอดจนบุคคลที่ต้องการการสนับสนุนการสร้างผลกระทบอย่างยั่งยืน
เราพร้อมให้การสนับสนุน และร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปพร้อมกับคุณ
วิธีการทำ Crowdfunding ที่ตอบโจทย์ผู้ให้
การระดมทุนเพื่อการกุศลนั้นมีอยู่อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำผ่านตัวกลาง หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ที่ช่วยในเรื่องของความสะดวก รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ทุกวิธีระดมทุนนั้นมีจุดที่สำคัญคือควรที่จะต้องตรวจสอบได้ มีความชัดเจนและน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะทำให้ผู้ให้สามารถวางใจได้ว่าการสนับสนุนของตนเองจะไปถึงผู้ที่ต้องการการสนับสนุนจริงๆ โดยการทำ Crowdfunding ที่จะตอบโจทย์ผู้ให้นั้น มีหลายแบบด้วยกัน ดังนี้
ระดมทุนออนไลน์ (Online Crowdfunding)
การระดมทุนออนไลน์เป็นวิธีที่สะดวก ง่าย และรวดเร็ว โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดของโครงการที่ต้องการสนับสนุนได้บนเว็บไซต์ระดมทุนหรือแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อทำการตัดสินใจในการจะสนับสนุน หรือระดมทุนช่วยเหลือโครงการได้ แต่อย่างไรก็ตามก่อนการระดมทุนควรต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าแพลตฟอร์มนั้น มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
บริจาคผ่านตัวแทนระดมทุน (Face-to-Face Crowdfunding)
วิธีระดมทุนแบบนี้เป็นการระดมทุนแบบ Onsite ที่จะมีนักระดมทุน หรือ Fundraiser เป็นคนกลางในการนำเสนอรายละเอียดของโครงการให้แก่ผู้ที่สนใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ต้องการสนับสนุนโครงการได้พูดคุย และสอบถามข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ของโครงการได้โดยตรง โดยโครงการที่มักจะมีการรับระดมทุนผ่านตัวแทน ได้แก่ World Animal Protection และ UNICEF
สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการระดมทุนของ UNICEF ได้ก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบตัวแทนขององค์กร
การระดมทุนจากพันธมิตร (Partnership Crowdfunding)
การระดมทุนจากพันธมิตร เป็นการหาผู้สนับสนุนจากองค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการทำงาน CSR หรือการที่องค์กรหรือหน่วยงานเอกชนมีการทำกิจกรรมเพื่อตอบแทนผลประโยชน์หวนคืนสู่สังคม ซึ่งองค์กรที่มีการทำ CSR จะมี สิงห์ คอร์ปอเรชั่น ภายใต้ชื่อโครงการ เช่น “สิงห์อาสา” , โตโยต้า โครงการ “ถนนสีขาว” และ ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) ได้จัดทำโครงการ “คนไทยไม่ทิ้งกัน” เป็นต้น
การระดมทุนทางโทรศัพท์ (Telefundraising)
การระดมทุนทางโทรศัพท์เป็นการที่องค์กรต่างๆ จะโทรติดต่อเพื่อบอกเล่ารายละเอียดโครงการ ซึ่งโครงการจะมีการติดต่อโดยตรงไปยังผู้ที่ต้องการสนับสนุน โดยส่วนมากแล้วการระดมทุนทางโทรศัพท์มักเป็นการติดต่อไปยังผู้ที่เคยให้การสนับสนุนเป็นประจำขององค์กร
ทั้งนี้หากผู้ใดมีความต้องการสนับสนุนองค์กรผ่านการระดมทุนทางโทรศัพท์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือขององค์กรหรือผู้ที่โทรติดต่อมา ตัวอย่างขององค์กรที่มีการระดมทุนทางโทรศัพท์เช่น UNICEF เป็นต้น
การทำ Crowdfunding สร้างผลกระทบอะไรกับชาว SE บ้าง?
Goergie Carey ได้ทำการศึกษา และสรุปเรื่องราวของ Crowdfunding ได้อย่างน่าสนใจ กล่าวคือ ผลกระทบของ Crowdfunding ที่มีต่อ Social Enterprise นั้นแตกต่างกันออกไป ตามแต่โครงสร้างขององค์กร และระยะของการดำเนินกิจการ โดย Crowdfunding นั้นจะส่งผลกระทบต่อกิจการที่ไม่แสวงหาผลกำไรมากกว่า อีกทั้งยังส่งผลดีต่อกิจการธุรกิจในระยะแรกเริ่มมากกว่าช่วงอื่นๆ ของการดำเนินธุรกิจ ซึ่ง Crowdfunding จะช่วยเพิ่มอัตราการเติบโตของ Social Enterprise ได้หลากหลายประการ ดังนี้
1. สร้างคอมมูนิตี้ เพิ่มการเข้าถึงความร่วมมือ
Crowdfunding คือการระดมทุนที่จะสามารถหาคนที่ต้องการช่วยเหลือ มายังผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้จริง และจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มสองกลุ่มได้เป็นอย่างดี
2. สร้างความน่าเชื่อถือ ขยายความมั่นคงให้องค์กร
วิธีระดมทุนแบบนี้ทำให้องค์กรหน่วยงานต้องมีการนำเสนอโครงการของตนเองไปสู่ผู้ร่วมลงทุน เพราะความร่วมมือของกลุ่มคน กลุ่มองค์กรหลากหลายกลุ่ม นำมายังความน่าเชื่อถือให้กับชาว SE ได้
3. สร้างสมดุล องค์กรเติบโตควบคู่กับผลกระทบเชิงบวกให้ทุกฝ่าย
Crowdfunding SE เป็นการระดมทุนที่ส่งผลดีต่อทุกฝ่าย จะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินโครงการ หรือธุรกิจเพื่อสังคม สร้างผลเชิงบวกคืนสู่สังคม ควบคู่กับการตอบสนองผู้จัดสรรปัจจัยการลงทุน เช่น ผู้บริจาค ผู้ลงทุน ได้อย่างสมดุล
สรุป
Crowdfunding คือการระดมทุนที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะทำให้ธุรกิจเพื่อสังคมสามารถหาผู้สนับสนุน หรือนักลงทุนผ่านการระดมทุนได้แล้ว ยังทำให้ผลได้รับจากการดำเนินกิจการ สามารถคืนเป็นผลประโยชน์ เพื่อตอบแทนชุมชนและสังคมได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และเข้มแข็งระหว่างองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม กลุ่มผู้ร่วมระดมทุน และชุมชนสังคมได้เป็นอย่างดี
Cheewid จึงอยากจะขอเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจ และเรียนรู้เรื่อง Crowdfunding ไปพร้อมกัน และต้องการเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ให้แก่ทุกคน ที่มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่ร่วมสนับสนุน และระดมทุนแก่องค์กรเพื่อสังคมซึ่ง ซึ่งจะนำชุมชนไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ในอนาคต
Reference:
- จอมขวัญ คงสกุล. น้ำใจคนไทยในยุคดิจิทัล ใช้ Crowdfunding ร่วมบริจาคสู้ Covid-19. sec.or.th. Published on 17 April 2020. Retrieved 31 October 2023.
- ETDA.รู้จักและทำความเข้าใจ Crowdfunding. etda.or.th. Published on 30 September 2016. Retrieved 31 October 2023.
- Georgie Carey. What Impact Does Crowdfunding Have on Social Enterprise Development?. linkedin.com. Published on 22 January 2019. Retrieved 31 October 2023.
- PeerPower Team. การระดมทุนคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) คืออะไร? สรุปทุกประเด็นสำหรับผู้ประกอบการ. peerpower.co.th. Published on 7 December 2022. Retrieved 31 October 2023.
- SDThailand. อินไซต์คนไทยเกี่ยวกับการบริจาค เทรนด์ผู้บริจาคเริ่มมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ปัจจัยหลักเพื่อ ‘ความสุขทางใจ’ ส่วนการลดหย่อนภาษี เป็นแค่ ‘ของแถม’. Sdthailand.com. Published on 31 January 2023. Retrieved 31 October 2023.
- Stripe. Four types of crowdfunding for startups-and how to choose one. stripe.com. Published on 17 August 2023. Retrieved 31 October 2023.