เข้าสู่ระบบ

Table of Contents
Recent Post
เปโดคืออะไร? กฎหมาย บทลงโทษ และวิธีรับมือพฤติกรรมเปโดในสังคม
เปโดคืออะไร? กฎหมาย บทลงโทษ และวิธีรับมือพฤติกรรมเปโดในสังคม

บทความนี้ CHEEWID ชวนทุกคนมาตระหนักรู้เกี่ยวกับ เปโด โดยเปโด นั้นคือ ความสนใจทางเพศต่อเด็กที่ส่งผลกระทบต่อเหยื่อและสังคม การเข้าใจกฎหมาย และวิธีรับมือกับพฤติกรรมเปโด จะช่วยให้เราป้องกันและจัดการกับปัญหานี้ได้ดียิ่งขึ้น

Gentrification การเปลี่ยนแปลงในเมืองที่สร้างความแตกต่างในสังคม
Gentrification การเปลี่ยนแปลงในเมืองที่สร้างความแตกต่างในสังคม

บทความนี้ CHEEWID พาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Gentrification คือการพัฒนาพื้นที่ที่มีรายได้ต่ำ โดยดึงดูดกลุ่มคนรายได้สูง สร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมและเศรษฐกิจ อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยเดิมต้องเผชิญกับความไม่เท่าเทียม

สถานการณ์ของแรงงานข้ามชาติในไทย การคุ้มครองและปัญหาที่เกิดขึ้น
สถานการณ์ของแรงงานข้ามชาติในไทย การคุ้มครองและปัญหาที่เกิดขึ้น

แรงงานข้ามชาติในไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจแต่ขาดการคุ้มครองทางกฎหมาย ในบทความนี้ CHEEWID ชวนทุกคนมาทำความเข้าใจกับแรงงานข้ามชาติในไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น ช่องว่างทางสังคมและความไม่เท่าเทียม และประเด็นอื่นๆ

ความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในเมือง สมดุลระหว่างธรรมชาติและชีวิต
ความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในเมือง สมดุลระหว่างธรรมชาติและชีวิต

บทความนี้ CHEEWID จะทุกคมาทำความเข้าใจกับพื้นที่สีเขียวในเมืองมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตประชาชน โดยช่วยสร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติและการใช้ชีวิต ส่งเสริมให้เมืองเป็นที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพและยั่งยืนในระยะยาว

เปโดคืออะไร? กฎหมาย บทลงโทษ และวิธีรับมือพฤติกรรมเปโดในสังคม

บทความนี้ CHEEWID ชวนทุกคนมาตระหนักรู้เกี่ยวกับ เปโด โดยเปโด นั้นคือ ความสนใจทางเพศต่อเด็กที่ส่งผลกระทบต่อเหยื่อและสังคม การเข้าใจกฎหมาย และวิธีรับมือกับพฤติกรรมเปโด จะช่วยให้เราป้องกันและจัดการกับปัญหานี้ได้ดียิ่งขึ้น
เปโดคืออะไร? กฎหมาย บทลงโทษ และวิธีรับมือพฤติกรรมเปโดในสังคม
Table of Contents

 

Key Takeaway

  • เปโด คือ อาการของโรคใคร่เด็กที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ที่มีความคิดผิดปกติ ซึ่งมีความคิดและมีอารมณ์ทางเพศต่อเด็กที่มีอายุไม่ถึง 13 ปี 
  • โรคใคร่เด็กส่งผลกระทบอย่างมากต่อสังคม เพราะเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ทำให้เด็กหวาดกลัว และเกิดการเรียนรู้ที่ผิดพลาด จนทำให้เด็กไม่สามารถอยู่ในสังคมปกติได้ นอกจากนี้แล้วพวกเปโดยังเป็นภัยร้ายต่อคนอื่นๆ ในสังคมด้วยเช่นกัน 
  • การป้องกันเด็กให้ห่างไกลจากพวกเปโด พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ใหญ่ในสังคมจะต้องมีการสอดส่อง และดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิด ระมัดระวังไม่ให้บุคคลอื่นมาแสดงพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และต้องมีการอบรมแนะนำเด็กให้รู้จักดูแลตนเองเพื่อให้รับมือต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้ 

 

ในปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีก้าวหน้า ข่าวสารเผยแพร่ได้ไวผ่านโลกออนไลน์ ทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันและรวดเร็ว แต่กลับกลายเป็นดาบสองคมของสังคม เนื่องจากสื่อผิดกฎหมายก็สามารถแพร่ออกไปได้ไวเช่นกัน และที่ยิ่งไปกว่านั้นเรากลับพบพฤติกรรมของกลุ่มคนเบี่ยงเบนมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้เราจะพูดถึงกลุ่มเบี่ยงเบนที่มีลักษณะใคร่เด็ก หรือเปโดว่าคืออะไร มีกฎหมายใดบ้างที่สามารถลงโทษหรือเอาผิดกลุ่มคนเหล่านี้ได้ รวมไปถึงแนวทางในการรับมือเพื่อป้องกันดูแลความปลอดภัยให้กับเด็กและเยาวชนในสังคม 

เปโดหรือโรคใคร่เด็กคืออะไร และมีลักษณะอย่างไร

Pedophilia หรือ เปโด คือ กลุ่มผู้ใหญ่ที่มีลักษณะ พฤติกรรม ความผิดปกติทางจิต ที่นำไปสู่ความรู้สึกรักใคร่เด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ที่ยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งความผิดปกตินี้จะนำไปสู่พฤติกรรมการล่อลวงเด็ก เพื่อการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก และนำอันตรายมาสู่เด็กและเยาวชนได้ แต่โรคใคร่เด็กสามารถบำบัดเพื่อรักษาอาการให้ดีขึ้นได้

 

อาการที่เข้าข่ายโรคใคร่เด็ก

 

อาการที่เข้าข่ายโรคใคร่เด็ก 

โรคใคร่เด็กเป็นอาการที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางความคิดและจิตใจ โดยกลุ่มผู้เบี่ยงเบนที่เข้าข่าย Pedophilia จะต้องมีอายุ 16 ปี ขึ้นไป ซึ่งจะมีอายุมากกว่าเด็กที่เป็นเหยื่อ 5 ปี และชอบจินตนาการเรื่องเพศ หรือมีความต้องการทางเพศต่อเด็กที่มีอายุไม่เกิน 13 ปี ซึ่งอาการของพวกเปโด หรือโรคใคร่เด็ก มีดังนี้

  • ในระยะของคนที่มีอาการโรคใคร่เด็ก จะไม่ยอมรับ และรู้สึกวิตกกังวล รู้สึกผิด เมื่อรู้สึกว่าตนเองมีอาการใคร่เด็ก 
  • ไม่ชอบอยู่กับคนที่อยู่ในวัยเดียวกัน ชอบคลุกคลีกับเด็กมากกว่า หรือชอบเอาใจเด็ก ทำให้เด็กไว้ใจ
  • ชอบดูสื่อลามกหรือมีอารมณ์ทางเพศกับเด็ก 
  • มีพฤติกรรมที่ส่อถึงการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก อาจด้วยการใช้คำพูด การสัมผัสร่างกาย เป็นต้น 
  • รู้สึกว่าตนไม่ชอบหรือไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตคู่หรือมีคู่ครองในวัยเดียวกัน

 

ผลกระทบจากโรคใคร่เด็กต่อเด็กและสังคม

ผลกระทบจากโรคใคร่เด็กต่อเด็กและสังคม

กลุ่มผู้มีพฤติกรรมของโรคใคร่เด็กหรือพวกเปโด เป็นกลุ่มเบี่ยงเบนที่มีความอันตรายต่อเด็กและสังคมอย่างมาก และพฤติกรรมเหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของคนในสังคมหลากหลายด้าน รวมถึงความรุนแรงในครอบครัว ดังต่อไปนี้

ผลกระทบต่อเด็ก

  • ความเสียหายทางจิตใจ ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวลและการไม่มั่นใจในตัวเอง มีปัญหาด้านอารมณ์และการใช้ชีวิต เด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือถูกบังคับข่มขู่ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศต่อตัวเด็ก เด็กจะได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลทำให้เด็กเกิดอาการวิตกกังวล หวาดกลัว รู้สึกว่าตนเองตกอยู่ในอันตราย ไม่ปลอดภัย ไม่มั่นใจในตัวเอง จนนำไปสู่ปัญหาทางด้านอารมณ์ การรับรู้ เกิดภาวะซึมเศร้า และอาจนำความคิดไปสู่การทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายได้ 
  • ความบอบช้ำทางร่างกาย บาดแผลทางร่างกาย ติดเชื้อหรือภาวะบาดเจ็บ เด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศมักถูกบังคับ ข่มขู่ หรือใช้ความรุนแรงในเพื่อกระทำชำเราเด็ก หรือข่มขืนทำอนาจารเด็ก ซึ่งทำให้เด็กได้รับความเจ็บปวดทางร่างกาย หรือถูกใช้ความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ และนำไปสู่อาการเจ็บป่วย หรือโรคติดต่ออื่นๆ ที่อาจตามมา 
  • การพัฒนาการทางเพศ มีความสัมพันธ์ทางเพศที่ผิดปกติหรือปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเพศ การที่เด็กถูกกระทำอย่างไม่เหมาะสมในพฤติกรรมทางเพศ ส่งผลทำให้เด็กเรียนรู้และไม่เข้าใจพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมต่อช่วงวัย และอาจส่งผลให้เด็กลอกเลียนแบบพฤติกรรมทางเพศที่ผิดเพี้ยนต่อไป 

ผลกระทบต่อสังคม

  • เพิ่มภาระในการดูแลสุขภาพ ต้องใช้ทรัพยากรในระบบสังคม เช่น บริการทางการแพทย์ การฟื้นฟูทางจิตใจ และการปรับพฤติกรรม เนื่องจากเหยื่อที่ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเป็นสิ่งที่เปราะบางอย่างมาก ดังนั้นหากเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมอาจส่งผลเสียต่อสังคมต่อไป ดังนั้นต้องมีการจัดการหน่วยงาน และใช้ทรัพยากรคนหรือผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล และให้บริการทางการแพทย์ที่เหมาะสมต่อเด็กที่เป็นเหยื่อ และเพื่อการฟื้นฟูอารมณ์ จิตใจ และสุขภาพของเหยื่อให้สามารถกลับเข้าสู่สังคมปกติได้ 
  • ขาดความมั่นใจในสังคม เกิดความไม่มั่นคงและความไม่ปลอดภัยในสภาพแวดล้อมทางสังคม ขาดความไว้วางใจในผู้ใหญ่ เด็กที่เป็นเหยื่อของพวกเปโด จะรู้สึกขาดความไว้วางใจต่อผู้ใหญ่ รู้สึกว่าสภาพแวดล้อมและสังคมไม่น่าไว้วางใจ จึงทำให้สังคมไม่สามารถรับมือหรือดูแลเด็กในสังคมได้อย่างเหมาะสม 
  • พวกเปโดมีโอกาสที่จะกระทำผิดซ้ำ อาจกระทำผิดซ้ำซาก กระทำกับเหยื่อรายใหม่ พวกเปโดที่มีอาการโรคใคร่เด็ก แม้จะถูกลงโทษแล้ว แต่ก็ยังคงมีโอกาสกระทำความผิดเดิมซ้ำๆ ต่อเหยื่อรายใหม่ ทำให้สังคมไร้ความปลอดภัย และเป็นอันตรายต่อเด็กและผู้คนอื่นๆ ในสังคมเช่นกัน

 

กฎหมายและบทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับโรคเปโด

กฎหมายและบทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับโรคเปโด

ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เอาผิดต่อผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตที่มีอาการของโรคใคร่เด็ก แต่ยังมีกฎหมายและบทลงโทษที่เกี่ยวข้อง ให้ความคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของพวกเปโด ซึ่งสามารถแบ่งบทลงโทษตามรูปแบบของการกระทำได้ ดังนี้ 

ครอบครองหรือเผยแพร่สื่ออนาจารเด็ก

ในการครอบครองหรือมีสื่อลามกเด็กเพื่อการรับชมหรือการเผยแพร่ มีความผิด ซึ่งมีการลงโทษดังนี้ 

  • ครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก เช่น คลิปวิดีโอ ภาพถ่าย หรือสื่ออื่นๆ ที่เป็นการแสดงถึงการล่วงละเมิดทางเพศเด็กที่อายุไม่เกิน 18 ปี มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
  • ส่งต่อสื่อลามกอนาจารเด็ก มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 
  • เผยแพร่ อัปโหลด คลิปวิดีโอ หรือ ภาพถ่ายอนาจารเด็ก ลงบนระบบคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต หรือเผยแพร่ด้วยวิธีใดก็ตามให้แก่ผู้อื่น มีโทษจำคุก 3 – 10 ปี ปรับ 60,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

การกระทำอนาจารเด็ก

การกระทำอนาจารเด็ก เป็นการกระทำผิดต่อตัวเด็กที่เป็นเหยื่อโดยตรง ซึ่งผู้ที่กระทำอนาจารเด็ก จะต้องได้รับบทลงโทษ ดังต่อไปนี้ 

  • กระทำอนาจารต่อเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ยินยอมก็ตาม จะต้องได้รับโทษจำคุก ตั้งแต่ 1 – 10 ปี หรือปรับ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  
  • กระทำอนาจารเด็กที่อายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับ 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

การกระทำชำเราเด็ก

การกระทำชำเรา คือ การกระทำความผิดต่อเหยื่อเพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศของกลุ่มผู้เบี่ยงเบน โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศหรือปากของเหยื่อ ซึ่งผู้กระทำความผิดจะต้องได้รับบทลงโทษ ดังนี้ 

  • กระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าจะด้วยความยินยอมหรือไม่ยินยอมก็ตาม มีโทษจำคุก 7 – 20 ปี และปรับ 140,000 – 400,000 บาท หรือจำคุกตลอดชีวิต 
  • กระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีโทษจำคุก 5 – 20 ปี และปรับ 100,000 – 400,000 บาท 

บทลงโทษผู้ป่วยทางจิตเวช

ผู้กระทำความผิดที่มีลักษณะบกพร่องทางสติปัญญา หรือเป็นกลุ่มที่มีความผิดปกติทางอาการจิตเวช จึงทำให้ไม่สามารถรับรู้หรือแยกแยะการกระทำผิดชอบชั่วดีได้ จึงทำให้แสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสังคมออกไป โดยกลุ่มผู้กระทำความผิดที่มีอาการป่วยทางจิตเวช จะมีบทลงโทษโดยเฉพาะ ซึ่งมีโทษ ดังนี้ 

ถูกยกเว้นหรือลดโทษ

ผู้ป่วยทางจิตเวชถูกลดโทษหรือได้รับการละเว้นโทษ เนื่องจากเหตุผลดังนี้ 

  • ไม่ต้องรับโทษ กระทำความผิดขณะที่ไม่รู้ผิดชอบ ไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากมีอาการบกพร่องทางจิต หรือมีสติฟั่นเฟือน 
  • รับโทษน้อยลง ซึ่งโทษเป็นไปตามดุลพินิจของศาล เนื่องจากผู้กระทำความผิดมีความสามารถในการรับรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังคงบังคับตนเองได้บ้าง

ได้รับการบรรเทาโทษ

ผู้ป่วยจิตเวชบางประเภท เป็นผู้ป่วยที่ยังคงมีการรับรู้อยู่บ้าง แต่ยังคงมีความบกพร่องทางสติปัญญาอยู่ จึงทำให้ได้รับการบรรเทาโทษกึ่งหนึ่งหรือตามดุลพินิจ เนื่องจากสาเหตุ ดังนี้ 

  • โง่เขลา เบาปัญญา ตกอยู่ในความทุกข์สาหัส 
  • ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา 
  • รู้สึกผิดต่อเหยื่อและพยายามบรรเทาผลจากการทำผิด 
  • สารภาพและยอมรับความผิดต่อเจ้าหน้าที่ 
  • มีคุณความดีมาก่อน

 

การป้องกันและคุ้มครองเด็กจากการล่วงละเมิดของพวกเปโด 

การป้องกันและคุ้มครองเด็กจากการล่วงละเมิดของพวกเปโด

เด็ก เป็นกลุ่มที่มักถูกเอารัดเอาเปรียบ และถูกล่วงละเมิดโดยไม่รู้ตัว เนื่องด้วยความเยาว์วัยและวุฒิภาวะที่ยังไม่มากพอ ดังนั้นคนในครอบครัว รวมไปถึงผู้ใหญ่ทุกคนในสังคม จะต้องช่วยกันดูแลและป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้ถูกเอาเปรียบหรือถูกล่วงละเมิด โดยการป้องกันและการคุ้มครองเด็กให้พ้นภัยร้ายจากพวกเปโด มีแนวทางดังต่อไปนี้ 

ไม่ปล่อยปละละเลยเด็ก

เด็กเป็นวัยที่ต้องได้รับการเลี้ยงดู และการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากผู้ปกครอง ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องรับรู้และปฏิบัติบทบาทหน้าที่ ในการรับผิดชอบดูแลความเป็นอยู่ของบุตรหลานในการปกครองของตนเองให้ได้รับความปลอดภัยในการใช้ชีวิต คอยสอนหรือตักเตือนให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ฝึกฝนทักษะและความรับผิดชอบตามช่วงวัย แต่ต้องไม่ผลักภาระหน้าที่ในการดูแลตัวเองไปให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถดูแลตนเองหรือตัดสินใจกระทำการบางอย่างด้วยตนเองได้ 

ฝึกทักษะให้ลูกรับผิดชอบความปลอดภัยของตัวเอง

พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่ จะต้องมีการสอนและแนะนำถึงวิธีการในการรับมือต่อสถานการณ์ให้กับเด็กๆ ได้เรียนรู้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่กับเราได้ตลอดเวลา หรือเราเองก็ไม่สามารถที่จะดูแลเด็กได้เองตลอดวัน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันสถานการณ์ที่เลวร้ายไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้น ควรมีการแนะนำวิธีการในการรับมือต่อสถานการณ์ต่างๆ หรือฝึกจำลองการรับมือต่อสถานการณ์ต่างๆ ให้เด็กได้จดจำ เพื่อที่จะสามารถเรียนรู้และรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเองในเบื้องต้นได้

 

 

ผู้ปกครองต้องไม่ประมาทในทุกสถานการณ์

ในปัจจุบันอันตรายอาจเกิดขึ้นได้รอบด้าน ไม่ว่าจะต่อผู้ใหญ่หรือเด็กเองที่ยิ่งต้องได้รับการดูแลและระมัดระวังเป็นพิเศษ ผู้ปกครองทุกคนจึงต้องระมัดระวัง และไม่ประมาทต่อสถานการณ์ต่างๆ รอบตัว โดยเฉพาะไม่ควรประมาทที่จะปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังกับผู้อื่น หรือคนแปลกหน้า ไม่ว่าจะสนิทสนมหรือไม่ก็ตาม เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อสถานการณ์การล่วงละเมิดเด็กที่อาจจะเกิดขึ้น 

หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กสัมผัสใกล้ชิดกับคนอื่น

การแสดงความรักต่อเด็กโดยการกอด หรือการสัมผัสตัว อาจดูเป็นเรื่องที่ปกติ เนื่องจากเด็กๆ มักเป็นวัยที่น่ารัก น่าเอ็นดู จนผู้ใหญ่หลายๆ คนก็รู้สึกอยากแสดงความรักต่อเด็กโดยการสัมผัส แต่อย่างไรก็ตามการสัมผัสเด็กต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม และไม่มากจนเกินไป และพ่อแม่ผู้ปกครองเองก็ควรที่จะเรียนรู้และระมัดระวังไม่ให้เด็กถูกบุคคลอื่นสัมผัสร่างกายจนมากเกินพอดี หากพบว่าเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศสามารถแจ้งได้ที่องค์กรช่วยเหลือสตรีและเด็ก

ใช้เวลากับลูกให้มากขึ้น

พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องใช้เวลากับลูกให้มากๆ ไม่ควรปล่อยให้เด็กต้องเรียนรู้ด้วยตัวคนเดียว ผู้ปกครองทุกคนจึงควรใช้เวลากับเด็กๆ เพื่อสอนให้พวกเขารู้ถึงสิ่งที่ถูกต้อง และสร้างสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์และทำให้เด็กไว้วางใจและกล้าที่จะบอกหรือพึ่งพาผู้ปกครอง ซึ่งจะทำให้เราสามารถช่วยเหลือเด็กเมื่อเขาต้องเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงและป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นได้ 

 

สรุป

พวกเปโด คือ กลุ่มผู้มีอาการของโรคใคร่เด็ก ซึ่งแสดงพฤติกรรมหรือมีอารมณ์ความรู้สึกทางเพศต่อเด็กที่มีอายุไม่เกิน 13 ปี ซึ่งโรคใคร่เด็กที่รุนแรงอาจทำให้พวกเปโดทำพฤติกรรมหรือลงมือกระทำการร้ายแรงและล่วงละเมิดทางเพศแก่เด็กได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุต่างๆ พ่อแม่ผู้ปกครองและทุกคนในสังคมควรจะช่วยกันสอดส่อง ดูแล และป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กและบุตรหลานของตน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลากับเด็ก สอนให้เด็กรู้จักระมัดระวังตนเองและเรียนรู้ที่จะป้องกันภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองได้ อีกทั้งยังต้องสอนให้เด็กรู้จักถึงพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมตามช่วงวัยของพวกเขา เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศจากพวกเปโดได้ 

Cheewid สนับสนุนให้ทุกคนในสังคมเรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของเด็กในสังคม และสนับสนุนกิจกรรมเพื่อเด็ก ผ่านการทำงานร่วมกับมูลนิธิและองค์กรเพื่อการปกป้องดูแลสิทธิเด็ก และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสังคม เพื่อสร้างสังคมให้น่าอยู่และปลอดภัยสำหรับทุกคน 

 

Reference 

  1. POBPAD. Pedophilia รู้จักอาการของโรคใคร่เด็ก และการรักษา. pobpad.com. Retrieved 3 March 2025.
  2. MediJournal. โรคใคร่เด็ก PEDOPHILIA อาการจิตป่วยอันตราย สังเกตให้ไวก่อนลูกหลานตกเป็นเหยื่อ. medi.co.th. Published on 29 August 2022.  Retrieved 3 March 2025.
  3. MGRONLINE. Pedophilia ชื่อนี้ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง. mgronline.com.  Published on 28 June 2020.  Retrieved 3 March 2025.
  4. มูลนิธิโสสะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมป์. วิธีป้องกันและแนวทางเมื่อเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ. sosthailand.org. Retrieved 3 March 2025.
  5. มูลนิธิพิทักษ์สิทธิเด็ก. ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก เรื่องที่ผู้ใหญ่ต้องป้องกัน. thaichildrights.org.  Retrieved 3 March 2025.
  6. สำนักงานกิจการยุติธรรม. โรคใคร่เด็กกับโทษทางกฎหมาย. justicechannel.org. Published on 1 July 2021. Retrieved 3 March 2025.

องค์กรเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้อง

logo-มูลนิธิเพื่อนหญิง

มูลนิธิเพื่อนหญิง

พิทักษ์สิทธิและให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติความรุนแรงจากภัยคุกคามทางเพศ และเสริมพลัง สร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้หญิง ตลอดจนรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงปัญหาที่ผู้หญิงเผชิญอยู่ในสังคมปัจจุบัน 
banner-ศูนย์ชีวิตใหม่

มูลนิธิศูนย์ชีวิตใหม่

มูลนิธิศูนย์ชีวิตใหม่ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ช่วยเหลือผู้หญิงที่เป็นผู้รอดชีวิตจากการล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว และการค้ามนุษย์ และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกหลอกลวง
logo-มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (มญช.)

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (มญช.)

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เป็นองค์กรที่มีเป้าหมายที่จะสร้างความเท่าเทียมเป็นธรรมระหว่างเพศ ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศโดยการมีส่วนร่วมของหญิงชาย ผ่านการบูรณาการการทำงานไปสู่การแก้ไขและป้องกัน
logo-SHero

SHero

พื้นที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่เหยื่อความรุนแรงทุกรูปแบบในสังคม โดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) ซึ่งถือเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่มีความรุนแรงหลายระดับ

banner-Freedom Restoration Project (FRP)
logo-Freedom Restoration Project (FRP)

Freedom Restoration Project (FRP)

ช่วยเหลือผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนไทย-แม่สอด เสริมพลังผู้หญิงและเด็กที่มีประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม