ความตาย เป็นปลายทางของชีวิตที่มนุษย์ทุกคนล้วนต้องพบเจอ โดยมีหลายความเชื่อเกี่ยวกับความตายที่บอกกล่าวเล่าขานกันต่อมาเพื่อจรรโลงใจตนเองในบั้นปลายชีวิต หรือเพื่อเป็นข้อคิดให้ใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างดีที่สุด ซึ่งบทความนี้ Cheewid ได้รวบรวมความเชื่อเกี่ยวกับความตายในแต่ละศาสนา ไขข้อสงสัยว่าโลกหลังความตายมีจริงไหม หน้าตาเป็นยังไง ไปดูกัน
ทำความรู้จัก ความตาย คืออะไร สิ่งที่ต้องรู้มากกว่าแค่หมดลมหายใจ
อย่างที่ทราบกันว่าความตายเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเผชิญหน้าในชีวิต แต่ความหมายของความตายอาจแตกต่างกันไปตามมุมมอง ตามความเชื่อที่ว่าตายแล้วไปไหน และนี่คือความหมายของการตายในแต่ละอย่างกัน โดยมีดังนี้
- การตายในทางภาษา มีความหมายว่า ซึ่งไม่มีชีวิตอีกต่อไป หรือซึ่งสิ้นสุดการทำงาน
- การตายในทางการแพทย์ คือการหยุดหายใจ การหยุดเต้นของหัวใจ และการตายทางสมอง
- การตายในทางกฎหมาย มีความหมายว่าการสิ้นสภาพบุคคล หรือการสิ้นสุดสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ บุคคลจะถึงแก่ความตายตามธรรมชาติ เมื่อหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น
- การตายในทางศาสนา มีความหมายว่าการสิ้นสุดชีวิตในภพนี้ และการปล่อยร่างกายไปสู่การเน่าสลาย โดยไม่มีการหายใจ การเต้นของหัวใจ หรือการทำงานของสมองและอวัยวะอื่นๆ
ความจริงหรือความเชื่อ? โลกหลังความตาย มีจริงไหม
ความเชื่อหลังความตายแต่ละศาสนาก็จะแตกต่างกันไป โดยแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักๆ ดังนี้
ตายแล้วกลับมาเกิดใหม่
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายว่าการตายแล้วกลับมาเกิดใหม่ คือความเชื่อว่า จิตวิญญาณจะได้รับชีวิตใหม่ในร่างกายหรือสภาพอื่นหลังจากที่ตายแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธที่มีความเชื่อเกี่ยวข้องกับกรรม และผลกรรมที่ส่งผลต่อการเกิดใหม่ และจะสามารถหลุดพ้นด้วยการบรรลุนิพพาน เช่นเดียวกับศาสนาฮินดูที่มี ความเชื่อเรื่องบาปบุญเช่นกัน โดยมีจุดสูงสุดของชีวิตของศาสนาฮินดู คือการบรรลุโมกษะ หรืออิสรภาพของวิญญาณที่เป็นความสุขอันเป็นนิรันดร หากยังไม่บรรลุก็จะกลับมาเวียนว่ายตายเกิดซ้ำๆ นั่นเอง
ตายแล้วไม่กลับมาเกิด
ในบางศาสนามีความเชื่อเกี่ยวกับความตายว่าไม่มีการเกิดตายเวียนว่าย โดยที่ไม่เกิดในสวรรค์หรือนรกนั่นคือการเข้าสู่สภาพที่เรียกว่านิพพาน เช่น ศาสนาคริสต์ที่มีความเชื่อตามพระคัมภีร์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับบาปติดตัวที่ต้องไถ่บาปแก่พระเจ้า ถ้าผู้ที่ยอมรับการไถ่บาปของพระองค์ก็จะไปสวรรค์นิรันดร์ แต่ผู้ที่ไม่ได้รับการไถ่บาปก็จะไปนรกชั่วนิรันดร์ และศาสนาอิสลามเชื่อว่าเมื่อตายแล้วแต่จิตวิญญาณยังอยู่ และจะฟื้นคืนชีพในวันสุดท้ายเพื่อขึ้นมารับการพิพากษาจากพระอัลเลาะห์ว่าที่ผ่านมากเขาได้ปฏิบัติตามพระคัมภีร์หรือไม่และสมควรจะได้ไปสวรรค์หรือนรกชั่วนิรันดร์
ตายแล้วไปไหน คำถามที่มีหลายคำตอบ ตามแต่ละมุมมองความเชื่อ
ตายแล้วไปไหน? มีความเชื่อเกี่ยวกับการตายอยู่หลายรูปแบบตามแต่ละศาสนาหรือความเชื่อนั้นๆ ซึ่งเป็นตัวกำหนดการจัดการหลังการตายว่าคนเราตายแล้วไปไหน คนที่ยังอยู่ต้องทำยังไงกับคนตาย จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน
ชีวิตหลังความตายตามหลักศาสนาพุทธ
ในพระไตรปิฎกบอกว่า การตาย หรือ มรณ หมายความว่าชีวิตหมดสิ้น หรือการตาย คือสภาพที่ขันธ์ 5 พังทลายการปล่อยวางร่างกาย การที่ชีวิตหยุดนิ่งหรือความหมดไป และตามศาสนาพุทธเชื่อว่าถ้าช่วงที่มีชีวิตปฏิบัติดี หมั่นทำบุญ ก็จะได้ไปสวรรค์ แต่ถ้าปฏิบัติไม่ดีก็ต้องไปนรก ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับความตายทางศาสนาพุทธมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาให้คนที่ตาย โดยในพิธีจะมีพิธีการต่างๆ และมีความหมายในตัวมันเองดังนี้
- การอาบน้ำศพ-รดน้ำศพ เป็นประเพณีที่ทำก่อนการฝังศพเพื่อทำความสะอาดและบริสุทธิ์ร่างกายผู้ที่เสียชีวิต นอกจากนี้ยังช่วยลดกลิ่นและความชื้นของศพทำให้คนที่เป็นญาติหรือผู้ที่ร่วมรดน้ำศพสามารถเข้าใกล้ได้
- การแต่งตัว-หวีผมให้ศพ เป็นประเพณีที่ทำหลังจากการอาบน้ำศพ เพื่อแสดงความเคารพแก่ศพ แต่จะใส่เสื้อผ้ากลับด้าน รวมไปจนถึงการหวีผมให้ศพจะมีวิธีต่างๆ ตามความเชื่อ
- การนำเงินใส่ปากศพ เป็นประเพณีที่มีความหมายมากมาย บางคนเชื่อว่าเป็นเงินที่ผู้ที่เสียชีวิตจะใช้ไปสู่โลกหน้า หรือจ่ายค่าเดินทางให้คนพายเรือนำวิญญาณข้ามแม่น้ำ บางคนเชื่อว่าเป็นการสอนให้ผู้ที่เสียชีวิตรู้จักใช้เงินอย่างมีคุณค่า ไม่เห็นแก่ตัว และทำบุญให้ผู้อื่น
- การมัดตราสัง เป็นประเพณีที่ใช้ด้ายสายสิญจน์มัดศพที่คอ มือ และเท้า เพื่อป้องกันศพพองขึ้นอืดแล้วดันโลง และใส่กรวยดอกไม้ธูปเทียนไว้บนมือศพที่พนมไว้ที่หน้าอก ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการเปรียบเทียบบ่วงมัดศพกับกิเลสตัณหาสามประการที่ทำให้คนเราติดในวงแหวนของการเกิดตาย
- การตั้งวางศพให้ถูกทิศ การวางศพให้หันศีรษะไปทางตะวันตกเป็นประเพณีที่มีความเชื่อว่าเป็นทิศของผู้ตาย นอกจากนี้ยังเป็นการสะท้อนคติธรรมที่เห็นความตายเป็นการสิ้นสุดของชีวิต
การเลือกไม่ทำพิธีทางศาสนาก็มีข้อดีคือ ประหยัดและสะดวก แต่ข้อเสียคือ อาจทำให้คนในครอบครัวหรือญาติสนิทไม่ได้เห็นหน้าผู้ที่เสียชีวิตครั้งสุดท้าย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือความรักและความจำที่เหลืออยู่ในใจของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่
แต่หากสนใจศึกษาเกี่ยวกับศาสนาพุทธเพิ่มเติม มูลนิธิบ้านอารีย์ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจศาสนาพุทธได้เข้ามาศึกษา จากกลุ่มญาติธรรมที่มีใจอุทิศทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาโดยตรง
ชีวิตหลังความตายตามหลักศาสนาคริสต์
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายของศาสนาคริสต์ คือการที่วิญญาณของคนที่ตายไปแล้ว จะฟื้นและไปอยู่ที่โลกหลังความตาม ซึ่งเป็นที่ที่ดีกว่าที่เคยอยู่ โดยคริสต์ศาสนาแบ่งออกเป็น 2 นิกายที่มีวิธีการตีความชีวิตหลังจากตายที่ไม่เหมือนกัน คือ
- ชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เชื่อว่าการตายคือการที่ร่างกายและวิญญาณแยกกัน โดยร่างกายจะกลายเป็นธุลีดิน และวิญญาณจะไปรับการพิจารณาตามการกระทำที่ดีหรือชั่วในตอนที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งผู้ที่ทำดีจะไปสวรรค์ และผู้ที่ทำชั่วจะไปนรก
- ชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ เชื่อว่าชีวิตในโลกนี้เป็นแค่ที่พักชั่วคราวเท่านั้น แต่ชีวิตหลังจากตายนั้นเป็นนิรันดร์ ผู้ที่ตายแล้วจะไปอยู่ที่ที่พระเจ้าได้เตรียมไว้สำหรับผู้ที่เชื่อและศรัทธาในพระองค์เท่านั้น และจะได้อยู่สวรรค์ตลอดกาล
ซึ่งในทางศาสนาคริสต์มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาให้คนที่ตาย โดยจะมีพิธีการต่างๆ และมีความหมายในตัวมันเองดังนี้
- การสวดศพ คือการทำพิธีทางศาสนาคริสต์เพื่อเป็นการเคารพศพผู้เสียชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงความดีของผู้ล่วงลับ และแสดงความเคารพ ในการจัดพิธีสวดศพจะการอธิษฐานขอพร และการเทศนาธรรมเกี่ยวกับความหวังหลังความตาย
- พิธีนำร่างของผู้เสียชีวิตลงโลงศพ คือการทำพิธีทางศาสนาคริสต์เพื่อเป็นการส่งผู้เสียชีวิตไปสู่สวรรค์ โดยจะทำหลังจากพิธีสวดศพจะนำร่างผู้เสียชีวิตใส่โลงศพแบบคริสต์
- พิธีมิสซา (คาทอลิก) คือหลังจากการเคลื่อนศพไปยังสุสานจะมีการทำพิธีเพื่อเป็นรับศีลมหาสนิท โดยเชื่อว่าร่างกายคนเราเป็นสิ่งชั่วคราวที่มาจากดิน และเมื่อตายก็จะกลับเป็นดิน แต่จิตนั้นจะยังคงอยู่
- พิธีฝังศพ คือการทำพิธีทางศาสนาคริสต์เพื่อเป็นการส่งผู้เสียชีวิตไปสู่พระเจ้า โดยจะทำหลังจากนำศพลงหลุม บาทหลวง (คาทอลิก) จะทำพิธีส่งจะเสกหลุมศพและ ประพรมน้ำเสก และบอกกล่าวให้ผู้เสียชีวิตออกจากโลงศพและไปหาพระเจ้า
หากสนใจศึกษาเกี่ยวกับศาสนาคริสต์เพิ่มเติม คริสตจักรไคร้สตเชิช กรุงเทพ (Christ Church Bangkok) เปิดโอกาสให้ผู้สนใจศาสนาคริสต์ได้เข้ามาศึกษา เสริมสร้างให้คนในชุมชนได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับศาสนาคริสต์ซึ่งกันและกัน
ชีวิตหลังความตายตามหลักศาสนาอิสลาม
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายในศาสนาอิสลาม คือการที่ร่างกายกับจิตวิญญาณแยกออกจากกัน แต่จิตวิญญาณนั้นจะยังคงอยู่เพื่อรอวันพิพากษาโลกซึ่งพระอัลเลาะห์ทรงกำหนดวันไว้แล้ว โดยคนที่ทำความดีจะไปสวรรค์ และคนที่ทำความชั่วจะไปนรก ซึ่งในทางศาสนาอิสลามมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาให้คนที่ตาย โดยในพิธีจะมีพิธีการต่างๆ และมีความหมายในตัวมันเองดังนี้
- พิธีอาบน้ำศพ ด้วยความเชื่อที่ว่าร่างกายและวิญญาณของคนเราจะแยกออกจากกันเมื่อตาย จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ ดังนั้นคนในครอบครัวหรือญาติผู้เสียชีวิตจะต้องอาบน้ำและทำความสะอาดศพแล้วห่อด้วยผ้าขาว
- พิธีการห่อศพ (กะฝั่น) คือการทำพิธีทางศาสนาอิสลามเพื่อเป็นการห่อศพด้วยผ้าขาว หลังจากทำการอาบน้ำศพเรียบร้อยแล้ว ให้นำศพของผู้เสียชีวิตลงในโลงศพที่มีการตกแต่งอย่างเรียบง่าย
- พิธีละหมาดให้แก่ผู้ล่วงลับ คือการทำพิธีทางศาสนาอิสลามเพื่อเป็นการสวดวิงวอนพระเจ้าและอุทิศความดีให้แก่ผู้เสียชีวิต
- พิธีฝังศพ คือการทำพิธีทางศาสนาอิสลามโดยจะต้องฝังศพภายใน 24 ชั่วโมงหลังตายและฝังศพให้ร่างกายของผู้เสียชีวิตสลายไปตามธรรมชาติ ซึ่งการฝังจะให้นอนตะแคงขวาหันหน้าไปทางทิศตะวันตก และจะไม่มีการนำอะไรลงไปฝังกับศพเพราะชาวมุสลิมเชื่อว่าสิ่งที่จะไปกับผู้เสียชีวิตมีเพียงความศรัทธาในพระเจ้า บุญกุศลที่สะสมไว้ และบุตรที่ดีที่จะขอพรให้ผู้เสียชีวิตหลังจากตาย
การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเคารพและอำลาผู้เสียชีวิต และการส่งผู้เสียชีวิตไปสู่พระอัลเลาะห์ ดังนั้นหากไม่ได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามบางคนอาจเชื่อว่าจะไม่ได้รับการตัดสินจากพระอัลเลาะห์
หากสนใจศึกษาเกี่ยวกับศาสนาอิสลามเพิ่มเติม มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดโอกาสให้ผู้สนใจศาสนาอิสลามได้เข้ามาศึกษา และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญของชาวมุสลิม ช่วยสร้างชุมชนชาวมุสลิมในไทยให้มีความเป็นปึกแผ่น แน่นแฟ้นกันมากขึ้น
ชีวิตหลังความตายตามหลักศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายในศาสนาฮินดูหมายถึง การตัดขาดจากกันระหว่างกายกับวิญญาณ ชาวฮินดูเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจิตวิญญาณนี้จะต้องไปเวียนว่ายตายเกิดเพื่อใช้กรรมที่ได้ทำ เมื่อหมดกรรมแล้วจึงไปรวมอยู่กับพระพรหมในสรวงสวรรค์ชั่วนิรันดร์ ในทางศาสนาฮินดูมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาให้คนที่ตาย โดยในพิธีจะมีพิธีการและขนบธรรมเนียมต่างๆ และมีความหมายในตัวมันเองดังนี้
- การแต่งกายให้เหมาะสม เป็นธรรมเนียมที่ผู้ที่เข้าร่วมพิธีศพจะสวมชุดสีขาว เสื้อผ้าควรดูลำลองและไม่หรูหราจนเกินไป
- พิธีอธิษฐานและเพลงสวด โดยครอบครัวของผู้เสียชีวิตจะร่วมกันร้องเพลงสวด สวดมนต์ เพื่อช่วยสร้างพลังงานเชิงบวกที่ช่วยให้จิตวิญญาณออกจากร่างกายในสภาวะสูงสุด
- ดอกไม้ประดับร่างกายให้ผู้ตาย ซึ่งในงานศพของชาวฮินดูจะประดับดอกไม้บนร่างกายของผู้ตาย โดยสมาชิกในครอบครัวจะเลือกดอกไม้ตามสัญลักษณ์และประโยชน์ต่อสุขภาพที่พวกเขาต้องการส่งต่อให้กับคนที่รักเมื่อไปสู่ชีวิตหน้า
- พิธีเปิดโลงศพ ซึ่งโลงศพมักจะเปิดในงานศพของชาวฮินดู และผู้เข้าร่วมพิธีควรนั่งในพิธีและพิจารณาศพอย่างเงียบๆ
การไม่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูเมื่อคนตายนั้นมีผลเสียต่อดวงวิญญาณของผู้ตาย และญาติผู้มีชีวิตอยู่ ด้วยความเชื่อหลังความตายที่ว่าดวงวิญญาณของผู้ตายจะไม่สามารถไปสู่โลกที่ดีกว่าได้ หรืออาจเจอกับความทุกข์และความโกรธของดวงวิญญาณนั้นอีกด้วย
สรุป
ความตายคือการหยุดหายใจของสิ่งมีชีวิต แต่ความเชื่อเกี่ยวกับความตายในแต่ละศาสนาก็มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางทำความดีเพื่อเพื่อนร่วมโลกขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ การบริจาคให้ผู้ยากไร้หรือผู้ที่ต้องการผ่าน Cheewid แพลตฟอร์มการบริจาคออนไลน์ ก็เป็นทางเลือกที่ทำได้ง่าย และความช่วยเหลือเข้าถึงผู้ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ทุกการบริจาคส่งผ่านไปยังองค์กรที่ดำเนินการโดยตรง ไม่มีหักค่าใช้จ่ายส่วนไหนเพิ่มเติม
Reference
- Cambridge dictionary. DEATH | English meaning – Cambridge Dictionary. Dictionary.cambridge.org. Published (no date). Retrieved 18 February 2024.
- หาหมอ. ตาย ความตาย Death – หาหมอ.com (haamor.com). haamor.com. Published 3 May 2014. Retrieved 18 February 2024.
- กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพพยาบาล. การสิ้นสภาพบุคคล (bcnpy.ac.th). bcnpy.ac.th. Published (no date). Retrieved 18 February 2024.
- ความตายในมุมมอง 4 ศาสนา. 19-คมคาย-284-302 (8).pdf. คมคาย. Published 14 September 2022. Retrieved 18 February 2024.
- หรีดมาลา. พิธีงานศพของชาวพุทธกับคติความเชื่อ (wreathmala.com). wreathmala.com. Published (no date). Retrieved 18 February 2024.
- หรีดมาลา. คติความเชื่อเรื่องโลกหลังความตายกับพิธีงานศพของชาวคริสต์ (wreathmala.com). wreathmala.com. Published (no date). Retrieved 18 February 2024.
- หรีดมาลา. คติความเชื่อของการจัดพิธีงานศพของชาวมุสลิมภายใน 24 ชั่วโมง | Wreathmala. wreathmala.com. Published (no date). Retrieved 18 February 2024.
- callaghanmortuary. Hindu Funeral Services in Livermore, Traditions and Rituals (callaghanmortuary.com). callaghanmortuary.com. Published (no date). Retrieved 18 February 2024.