เข้าสู่ระบบ

Table of Contents
Recent Post
เส้นทางและพัฒนาการของเมล็ดกาแฟพันธุ์ไทย
เส้นทางเมล็ดกาแฟพันธุ์ไทย รสชาติสุดเอกลักษณ์จากไร่สู่ตลาดโลก

บทความนี้ CHEEWID จะพามรู้จักเมล็ดกาแฟพันธุ์ไทยกำลังเป็นที่จับตามองในตลาดสากล ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของเกษตรกรไทย เจาะลึกที่มา ทิศทางอนาคตในตลาดโลกไปพร้อมกันในบทความนี้!

เที่ยวแบบไม่ต้องห่วงน้อง! 15 สถานที่ Pet Friendly ที่ไม่ควรพลาด
เที่ยวแบบไม่ต้องห่วงน้อง! 15 สถานที่ Pet Friendly ที่ไม่ควรพลาด

บทความนี้ CHEEWID จะพามารู้จักรวม 15 สถานที่ที่สาย Pet Friendly พาน้องๆ ออกเที่ยวได้แบบไร้กังวล ทั้งคาเฟ่ โรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยวเป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง บรรยากาศดี สะดวกสบาย ไร้กังวล

Sustainability คืออะไร? แนวทางในการจัดการทรัพยากรเพื่อความยั่งยืน
Sustainability คืออะไร? แนวทางในการจัดการทรัพยากรเพื่อความยั่งยืน

บทความนี้ CHEEWID จะพามารู้จัก Sustainability คือแนวทางในการพัฒนาและจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและไม่สร้างผลกระทบในระยะยาว เพื่อสร้างสมดุลโลกที่ยั่งยืน

การบริจาคเตียงผู้ป่วยเพื่อให้การรักษาดีขึ้น ช่วยเหลือผู้ป่วยในยามวิกฤต
การบริจาคเตียงผู้ป่วยเพื่อให้การรักษาดีขึ้น ช่วยเหลือผู้ป่วยในยามวิกฤต

บทความนี้ื CHEEWID จะพามารู้จักการบริจาคเตียงผู้ป่วยช่วยสนับสนุนการรักษาในยามวิกฤต ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น และลดภาระเจ้าหน้าที่ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ

มารู้จักเครื่องมือ Eisenhower Principle ที่นิยมใช้บริหารจัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพ

CHEEWID ชวนมารู้จักเครื่องมือทรงพลังที่ประธานาธิบดี Eisenhower ใช้บริหารจัดการเวลาในการทำงานและในชีวิตประจำวัน
Table of Contents

ความเป็นมาของ Eisenhower Principle

จากสุนทรพจน์ใน Second Assembly of the World Council of Churches งานสัมมนาสภาโบสถ์โลกครั้งที่ 2 ของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา Dwight D. Eisenhower ได้ยืมเอาคำกล่าวของ Dr J. Roscoe Miller อธิการบดีประจำ Northwestern University มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ที่กล่าวไว้ว่า:

“ผมมักจะมีปัญหาอยู่ด้วยกันสองข้อเสมอๆ นั่นก็คือปัญหาเร่งด่วนและปัญหาสำคัญ แต่ปัญหาเร่งด่วนมักไม่ใช่เรื่องสำคัญ ขณะที่ปัญหาสำคัญก็มักไม่ใช่
เรื่องเร่งด่วนด้วยเช่นกัน”

จากข้อความดังกล่าวนั้น “Eisenhower Principle” เป็นสิ่งที่ไอเซนฮาวด์ใช้ในการจัดการทำงานต่างๆ ของเขาเอง

ความสำคัญของหลักการ Eisenhower 

  1. ช่วยด้านการบริหารเวลา (Time-Management)
  2. ลดความเครียดเมื่อควบคุมเวลาและรู้สึกเร่งรีบตลอดเวลาไม่ได้
  3. ช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจที่ดีขึ้น เข้าใจการจัดลำดับความสำคัญ

 

มารู้จักเครื่องมือ Eisenhower Principle

 

เมื่อนำหลักการนี้ไปใช้บริหารจัดการเวลา จะช่วยให้สามารถรับมือกับสถานการณ์เร่งด่วนเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นกับเราได้ โดยที่ไม่สูญเสียเป้าหมายในการทำงานจริงไป ซึ่งการเขียนรายการกิจกรรมและการทำงานต่างๆ ที่ชัดเจน แบ่งตามรูปแบบต่อไปนี้

  • สำคัญและเร่งด่วน (Important & Urgent)
  • สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน (Important but not Urgent)
  • ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (Not Important but Urgent)
  • ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน (Not Important and not Urgent)

 

มารู้จักเครื่องมือ Eisenhower Principle

หลักการ “สำคัญ หรือ เร่งด่วน” ของ Eisenhower

หลักการสำคัญ (Important) หรือเร่งด่วน (Urgent) จะช่วยระบุและเรียงลำดับความสำคัญในกิจกรรมต่างๆ โดยแยกเป็นกิจกรรมหรืองานที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน และกิจกรรมหรืองานไหนที่สามารถเว้นไว้ก่อนได้ในตอนนั้น

เรื่องสำคัญ (Important)
กิจกรรมหรืองานที่เมื่อทำแล้วนำเราไปสู่ความสำเร็จที่คาดหวัง (ทั้งในส่วนของการทำงานและเรื่องส่วนตัว) องค์ประกอบ เช่น

  • ผลกระทบระยะสั้นและระยะยาว
  • ผลกระทบต่อวัตถุประสงค์โดยรวม
  • ผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม

เรื่องเร่งด่วน (Urgent)
กิจกรรมหรืองานที่ต้องทำในตอนนั้น หรือปัญหาที่เกิดขึ้นแบบไม่คาดคิด ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของเรา แต่จะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับเป้าหมายของคนอื่นเสียมากกว่า ปัญหาก็คือกิจกรรมหรืองานแบบนี้มักจะดึงความสนใจของเราไปมากกว่าสิ่งสำคัญเสมอ เพราะเราจะรู้สึกว่าหากไม่ทำสิ่งนี้มันจะเกิดปัญหาอื่นขึ้นกับเราได้

ภาพรวมและรายละเอียดเพิ่มเติมของ Eisenhower Principle 

มารู้จักเครื่องมือ Eisenhower Principle

Priority 1 สำคัญและเร่งด่วน (Important & Urgent)

งานหรือกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วนมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ 1. งานที่ไม่ได้คาดการณ์ว่าจะเข้ามา 2.งานที่ปล่อยไว้จนใกล้เส้นตาย ซึ่งเราสามารถป้องกันการทิ้งงานบางอย่างไว้จนถึงเส้นตายได้โดยใช้วิธีการในหัวข้อการหลีกเลี่ยงการทำงานแบบผัดวันประกันพรุ่ง

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกครั้งที่จะหลีกเลี่ยงการผลัดวันทำงานหรือวางแผนการทำงานล่วงหน้าได้ และทางเลือกที่ดีที่สุดเมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ คือยอมสละเวลาหรือทิ้งการทำงานตามตารางเวลาบางส่วนเพื่อจัดการปัญหาสำคัญและเร่งด่วนที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทันที กรณีที่ทิ้งงานมาแก้ปัญหาในส่วนนี้ แล้วมีปัญหาอื่นเกิดตามมา เราอาจต้องปรับตารางเวลาใหม่ทั้งหมด

ถ้าเรามีสิ่งสำคัญและเร่งด่วนพร้อมกันจำนวนมาก ให้พยายามวิเคราะห์ดูว่าสามารถทำส่วนไหนพร้อมกันได้ และแบ่งส่วนนั้นให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้เราสามารถเรียงลำดับการทำงานและกิจกรรมที่มีความสำคัญเท่ากันได้ดีขึ้น

Priority 2 สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน (Important but Not Urgent)

ต้องแน่ใจว่าตารางเวลาที่จัดไว้สำหรับงานหรือกิจกรรมในส่วนนี้ กว้างและมีเวลามากพอที่จะทำให้เราสามารถทำงานหรือกิจกรรมนี้ได้อย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งนี้ตารางเวลาที่จัดไว้ควรจะครอบคลุมถึงเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานหรือกิจกรรมนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้งานหรือกิจกรรมเหล่านี้กลายเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญ

ข้อแนะนำสำหรับการแยกแยะเรื่องสำคัญกับเรื่องที่ไม่สำคัญ และการเข้าใจว่าเรากำลังทำทุกอย่างไปเพื่ออะไร มีคำถาม 2 ข้อที่จะช่วยชี้แจงกระบวนการทั้งหมดที่อยู่เบื้องหลังวิธีการของ Eisenhower

  • ฉันกำลังทำอะไร? มีเป้าหมายอะไร? (Target)
  • หลักการสำคัญที่ขับเคลื่อนชีวิตของเราคืออะไร? (Core Values)


Priority 3 ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน

งานหรือกิจกรรมในส่วนนี้ส่วนมากแล้วจะไม่เกี่ยวข้องอะไรกับความต้องการหรือเป้าหมายของเราเลย และมักจะมาจากคำขอร้องของคนอื่น ดังนั้นเมื่อมีงานหรือกิจกรรมเช่นนี้เข้ามาให้ดูว่าจะสละเวลาในตารางงานได้หรือไม่ และถ้าไม่ได้ก็ควรบอกปฏิเสธคำขอเหล่านั้นอย่างสุภาพที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือพยายามโน้มน้าวให้คนที่มาขอความช่วยเหลือพยายามแก้ไขปัญหาหรือทำงานเหล่านั้นด้วยตัวเอง

ในอีกทางหนึ่งเราสามารถที่จะเป็นผู้ช่วยของคนอื่นได้ โดยการจัดเวลาว่างไว้สำหรับทำงานหรือกิจจกรรมในส่วนนี้โดยเฉพาะและต้องให้คนเหล่านั้นรู้ด้วยว่าเราจะว่างแค่ในช่วงเวลานี้เท่านั้น เพื่อที่พวกเขาจะได้มาขอความช่วยเหลือได้ถูกเวลา และเราก็จะไม่สูญเสียเวลาที่ต้องใช้ทำอย่างอื่นไปกับเรื่องเร่งด่วนที่อาจจะเข้ามาในตอนที่เราไม่มีเวลาสำหรับเรื่องเหล่านั้นอีกด้วย

Priority 4 สิ่งที่ไม่เร่งด่วนและไม่สำคัญ

กิจกรรมหรืองานในส่วนนี้คือสิ่งที่รบกวนมากที่สุด ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรืองานเหล่านี้ โดยเพิกเฉยต่องานและกิจจกรมในส่วนนี้ไปเลย แม้ว่าบางเรื่องจะเป็นคำขอร้องของคนอื่น คล้ายกับกรณีของงานเร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ หากทำได้ให้ปฏิเสธคำขอเหล่านี้และอธิบายเหตุผลต่อคนที่ขอร้องว่าทำไมเราจึงทำสิ่งนี้ไม่ได้ให้พวกเขาเข้าใจ

ซึ่งการที่ทำแบบนี้จะทำให้คนอื่นๆ มองเห็นความชัดเจนและการจัดลำดับในการทำงานของเราและจะไม่ขอร้องให้เราทำสิ่งเหล่านี้ในอนาคตอีกด้วย

Template สำหรับการใส่ข้อมูล Eisenhower Principle

Template สำหรับการใส่ข้อมูล Eisenhower Principle

สรุป

Eisenhower Principle นับว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราบริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานหรือใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเราให้ดียิ่งขึ้น 

ทำความรู้จักเรามากขึ้น

Logo_Square

Cheewid

แพลตฟอร์มองค์กรระบบคลาวด์ที่สนับสนุนองค์กรเพื่อสังคม เราเพิ่มโอกาสในความเท่าเทียมสำหรับนวัตกรรมทางสังคม และร่วมเป็นผู้รับรู้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม