เข้าสู่ระบบ

Table of Contents
Recent Post
รวมงานผู้สูงอายุทำที่บ้านได้ ทำงานคลายเหงา พร้อมส่งเสริมสุขภาพจิต
รวมงานผู้สูงอายุทำที่บ้านได้ ทำงานคลายเหงา พร้อมส่งเสริมสุขภาพจิต

บทความนี้ CHEEWID จะพาไปอัปเดตสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุในไทย พร้อมรวมไอเดียงานสำหรับผู้สูงอายุวัย 50-60 ปีที่ยังมีไฟอยากทำงานอยู่ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

รวม 10 แบรนด์สุราไทย เมรัยรสเลิศถูกปากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
รวม 10 แบรนด์สุราไทย เมรัยรสเลิศถูกปากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ

บทความนี้ CHEEWID จะพาไปทำความรู้จักประวัติความเป็นมาของสุราไทย พร้อมทำความรู้จักประเภทสุราไทยที่น่าสนใจ และแบรนด์สุราไทยรสเลิศที่น่าจับตามอง

ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตัวช่วยกระจายรายได้สู่ครัวเรือนผ่านสินค้าในท้องถิ่น
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตัวช่วยกระจายรายได้สู่ครัวเรือนผ่านสินค้าในท้องถิ่น

บทความนี้ CHEEWID จะพาไปทำความรู้จักว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร พร้อมแนะนำเพื่อนำไปต่อยอดไอเดีย สร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น

รวม 20 หนังสะท้อนสังคมไทย มุมมองที่ถูกซ่อนไว้วิพากษ์วิจารณ์สังคม
รวม 20 หนังสะท้อนสังคมไทย มุมมองที่ถูกซ่อนไว้วิพากษ์วิจารณ์สังคม

สำหรับบทความนี้ CHEEWID ขอแนะนำหนังเสียดสีสังคม ที่เปรียบเป็นกระจกสะท้อนความจริงที่ไม่มีใครกล้าพูด! ดำดิ่งสู่โลกแห่งหนังสะท้อนสังคมไทย ชวนตั้งคำถามกับความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียม และความอยุติธรรมที่กัดกินสังคม มีเรื่องไหนที่น่าสนใจบ้างมาดูกัน

รู้ทัน ป้องกันได้! ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาที่สังคมต้องช่วยแก้ไข

บทความนี้ CHEEWID จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว อาจมาในรูปแบบการทำร้ายทางร่างกาย หรือทำร้ายจิตใจ บทความนี้จะเสนอว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีอะไรบ้าง และมีแนวทางการป้องกันอย่างไร
รู้ทัน ป้องกันได้! ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาที่สังคมต้องช่วยแก้ไข
Table of Contents

 

Key Takeaway

  • ความรุนแรงในครอบครัวคือการทำร้ายกันภายในสมาชิกครอบครัวให้ได้รับบาดแผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
  • ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่ การทำร้ายร่างกาย การพูดจาเสียดสี ดูถูกเหยียดหยาม และเหยียบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนความรุนแรงทั้งทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัว และการไร้ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต 
  • การเกิดความรุนแรงภายในครอบครัวมักมาจากปัญหาทางด้านร่างกาย สุขภาพร่างกายและจิตใจ สภาพการเงิน รวมทั้งตัวกระตุ้นอื่นๆ เช่นการดื่มสุรา การใช้สารเสพติด และการติดการพนัน จนก่อให้เกิดการทำร้ายร่างกายและจิตใจของสมาชิกในครอบครัว
  • การป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สามารถทำได้จากการพูดคุยกัน การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและน่าอยู่ให้กับครอบครัว หรือหากเป็นปัญหาที่หนักมากๆ สามารถติดต่อเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงาน หรือแพทย์ เพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่พบเจอได้ 

 

ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวเองแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อชุมชนและสังคมไม่น้อย โดยรูปแบบของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีหลากหลายมิติมากกว่าที่คิด ทั้งการทำร้ายร่างกาย การทำร้ายทางจิตใจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม 

ในบทความนี้เราจะเสนอให้เห็นถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัวว่ามีอะไรบ้าง ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงแนวทางที่ดีในการรับมือ การป้องกัน และการแก้ไขปัญหา รวมถึงนำเสนอมูลนิธิเพื่อสังคม เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กด้อยโอกาส หรือกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบด้วย

 

ความรุนแรงในครอบครัว คืออะไร

ความรุนแรงในครอบครัว คืออะไร

ความรุนแรงภายในครอบครัว (Family Violence หรือ Domestic Violence) คือการบังคับ ข่มขู่ ขืนใจ ให้เหยื่อทำในสิ่งที่ผู้ข่มขู่ต้องการ โดยปราศจากความยินยอมจากเหยื่อ การใช้กำลังเพื่อทำร้ายทางร่างกายจนก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บ และนอกจากการใช้กำลังในการทำร้ายร่างกายแล้ว การใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม หรือการใช้คำพูดเพื่อข่มขู่ให้เหยื่อกลัว และรู้สึกหวาดระแวงในความปลอดภัย หรือคำพูดที่ทำร้ายจิตใจ ยังนับว่าเป็นความรุนแรงด้วยเช่นกัน ซึ่งผลกระทบของความรุนแรงในขั้นที่เลวร้ายมากที่สุด คือความรุนแรงที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต 

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นสูงเรื่อยๆ จากเดิม โดยจากสถิติระหว่างช่วงปี 2564 – 2565 พบว่าสถิติของความรุนแรงในครอบครัวมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากถึง 3 เท่า โดยความรุนแรงในครอบครัวที่ร้ายแรงที่สุดคือการทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ชีวิต พบสถิติมากถึงร้อยละ 47.2 อีกทั้งยังมีการทำร้ายร่างกาย พบร้อยละ 28.6 การทำร้ายจิตใจจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ร้อยละ 13.7 จนถึงการล่วงละเมิดทางเพศภายในครอบครัว พบร้อยละ 5.6 เป็นต้น

 

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีอะไรบ้าง

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีอะไรบ้าง

หากกล่าวถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หลายๆ คนอาจนึกถึงเรื่องการทำร้ายร่างกายเป็นอันดับต้นๆ แต่นอกจากความรุนแรงทางด้านร่างกายแล้ว ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนั้นมีหลากหลายมากๆ ซึ่งแต่ละปัญหาล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวไม่น้อยเลย โดยตัวอย่างของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีดังนี้ 

ทางร่างกาย

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวทางร่างกาย (Physical Abuse) เป็นปัญหาที่พบได้อยู่บ่อยๆ ในสังคม ซึ่งมาจากการใช้กำลังจนทำให้คนในครอบครัวได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย จนอาจนำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิตได้ ความรุนแรงจากการทำร้ายร่างกาย ได้แก่ การเตะ ต่อย ตบ ทุบตี รวมถึงการใช้อาวุธเพื่อทำให้เหยื่อได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ยังรวมถึงการห้ามหรือบังคับข่มขู่ไม่ให้เหยื่อได้รับการรักษาและเยียวยาจากอาการบาดเจ็บด้วยเช่นกัน 

ทางจิตใจ

ความรุนแรงทางจิตใจ (Emotional Abuse) เป็นอีกหนึ่งปัญหาความรุนแรงที่พบได้ไม่น้อยเลย ทั้งในครอบครัวและสังคม เนื่องจากเป็นการทำร้ายผ่านการใช้คำพูดหรือการกระทำบางอย่างจนทำให้เหยื่อรู้สึกย่ำแย่ รู้สึกว่าตัวเองด้อยคุณค่า จนสะสมเป็นบาดแผลทางจิตใจ ความรุนแรงในครอบครัวที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ เช่น การด่าทอ การพูดจาดูถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรี การทำให้อับอาย การทำลายข้างของ เป็นต้น 

ทางเพศ

ความรุนแรงในครอบครัวทางเพศ (Sexual Abuse) เป็นความรุนแรงที่ส่งผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นความรุนแรงที่เหยื่อมักโดนใช้กำลัง โดนบีบบังคับขืนใจ หรือพูดจาส่อถึงความไม่เหมาะสมทางเพศ ซึ่งเป็นการคุกคามทางเพศ เช่น การขืนใจ การข่มขืน การวิจารณ์หรือพูดเสียหายเกี่ยวกับเพศและความสัมพันธ์ เป็นต้น 

ทางการเงิน

ความรุนแรงในครอบครัวทางด้านการเงิน (Financial Abuse) คือความรุนแรงที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ภายในสังคม และเป็นความรุนแรงที่ไม่ควรมองข้ามเลย โดยเกิดจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิต ความรุนแรงในครอบครัวทางการเงิน ได้แก่ การบังคับ การข่มขู่ในการใช้เงิน การควบคุมการใช้เงินอย่างไม่เป็นธรรม การขโมยเงินหรือทรัพย์สินของมีค่า รวมไปถึงการห้ามไม่ให้คนในครอบครัวได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีพ 

 

สาเหตุของความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว ล้วนแล้วแต่มีสิ่งกระตุ้นหรือปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดเป็นปัญหา ซึ่งสาเหตุความรุนแรงในครอบครัว มีดังนี้

  • อาการและภาวะเจ็บป่วย การที่คนภายในครอบครัวได้รับบาดเจ็บหรือเป็นโรคร้ายแรง นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและสภาพจิตใจของผู้ป่วยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัวด้วย เช่น อาการวิตกกังวล ความเครียด และอาจทำให้เกิดความรุนแรงจากปัญหาทางการเงินด้วยเช่นกัน 
  • ปัญหาทางด้านการเงิน เนื่องจากในสังคมของเรานั้น เงินเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้ ซึ่งหากประสบปัญหาทางด้านการเงิน จะทำให้บกพร่องไปจนถึงคุณภาพการดำเนินชีวิต และส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทั้งทางด้านความคิด อารมณ์ ความเครียด ได้ด้วยเช่นกัน 
  • นิสัยและความเคยชินส่วนตัว นิสัยบางอย่างที่ไม่ดี และไม่รีบปรับปรุงแก้ไข อาจเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและอาจส่งผลต่อความรุนแรงในครอบครัวด้านอื่นๆ ตามมาด้วยเช่นกัน เช่น การทำร้ายร่างกาย การทำร้ายจิตใจ เป็นต้น 
  • ความบกพร่องในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ หากสมาชิกภายในครอบครัวไม่ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีได้ ก็จะส่งผลกระทบทำให้เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัว ส่งผลให้สมาชิกคนอื่นๆ ได้รับผลกระทบตามมาได้ด้วย 
  • ความหึงหวง เป็นสาเหตุที่นำมาสู่ความรุนแรงในครอบครัวทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยจากการรายงานข่าวในสังคมไทยพบว่าการทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส หรืออาจนำไปสู่การเสียชีวิต ในหลายๆ กรณีก็มาจากสาเหตุการหึงหวง ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจด้วยเช่นกัน 

 

แนวทางการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อทั้งสถาบันครอบครัวจนไปถึงสถาบันอื่นๆ ในสังคม เนื่องจากครอบครัวนั้นเป็นสถาบันแรกของทุกๆ คน ดังนั้น จึงควรหาแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เพื่อชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของสมาชิกในสังคมทุกคน 

โดยแนวทางการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่

  • การสร้างบรรยากาศในบ้านให้ปลอดภัย อบอุ่น เพราะบ้านที่ดีจะกลายเป็นพื้นที่ที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะสามารถรู้สึกวางใจและปลอดภัยเสมอเมื่อได้มาพักอาศัย ดังนั้น สมาชิกในครอบครัวควรมีเมตตาต่อกัน พูดคุยกันด้วยเหตุผล อยู่ด้วยกันด้วยความสงบสุข เป็นต้น 
  • พูดคุยกันเสมอ เพื่อแสดงให้สมาชิกในครอบครัวเห็นว่ายังมีคนคอยใส่ใจ ดูแลและเป็นห่วง ทำให้สมาชิกในครอบครัวรู้สึกสบายใจต่อกัน แต่ถ้ามีปัญหาทางด้านจิตใจที่รุนแรงมากๆ จนสมาชิกในครอบครัวไม่สามารถแนะนำหรือเยียวยาได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญโดยทันที
  • หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหา เช่น สุรา บุหรี่ สารเสพติด หรือการพนัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกลายมาเป็นปัญหาความรุนแรงในครอบครัวทั้งทางด้านการเงิน จิตใจ และอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย จากการดื่มสุราและการใช้สารเสพติดได้ 
  • เมื่อเกิดความรุนแรงภายในครอบครัว หรือพบเห็นความรุนแรงภายในครอบครัว ควรรีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาช่วยเหลือ บรรเทาความรุนแรงภายในครอบครัวโดยทันที

 

รวม 5 มูลนิธิช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาความรุนแรงในไทย

เนื่องจากปัญหาความรุนแรงเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานในสังคมไทย จึงทำให้หลายๆ องค์กรและหน่วยงานต่างๆ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเข้าไปช่วยเหลือและแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยตัวอย่างของมูลนิธิที่ให้ความช่วยเหลือจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีดังนี้

 

มูลนิธิช่วยเหลือครอบครัว - SHero

1. SHero

SHero เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือเหยื่อจากปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัว เพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยจากความรุนแรงและการคุกคามทางเพศ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังคอยช่วยเหลือและดูแลเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว ให้ได้รับการรักษาและการเยียวยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการเข้าถึงเรื่องกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมด้วยเช่นกัน 

 

Freedom Restoration Project (FRP)

2. Freedom Restoration Project (FRP)

Freedom Restoration Project (FRP) เป็นองค์กรที่ให้การดูแลและให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ชายแดนไทย-แม่สอด แก่เด็กและสตรี รวมไปถึงกลุ่มสตรีและเด็กชายขอบ เช่น แรงงานข้ามชาติ ผู้อพยพ ที่ต้องประสบกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เพื่อทำให้เด็กและสตรีที่เคยเป็นเหยื่อจากความรุนแรงได้มีพื้นที่ที่ปลอดภัยจากการเข้ามาพูดคุย การรักษา และการเยียวยาทั้งทางจิตใจและร่างกาย 

อีกทั้งยังมีโครงการบ้านสำหรับหยุดพัก (Selan Center) บ้านพักพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้เหยื่อได้สามารถหยุดคิด ตัดสินใจ และก้าวออกมาจากความรุนแรงที่เคยพบเจอ เพื่อมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ 

  • ที่อยู่: อำเภอแม่สอด ตาก 
  • ติดต่อ: 093-291-8818 
  • เว็บไซต์: https://frpthailand.org/ 

 

มูลนิธิเพื่อนหญิง

3. มูลนิธิเพื่อนหญิง

มูลนิธิเพื่อนหญิง มุ่งเน้นในการช่วยเหลือ เยียวยา และแก้ไขปัญหา แก่กลุ่มสตรีที่ต้องพบเจอกับความรุนแรงในครอบครัว การคุกคามทางเพศและไร้ความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตจากภัยต่างๆ โดยมูลนิธิเพื่อนหญิงสนับสนุนให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคม จากการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เพื่อการตระหนักรู้ถึงบทบาทและสิทธิของคนทุกกลุ่ม 

  • ที่อยู่: รัชดาภิเษก 42 (ซอยเฉลิมสุข) ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
  • ติดต่อ: 02-513-1001
  • เว็บไซต์: https://www.facebook.com/p

 

มูลนิธิศูนย์ชีวิตใหม่

4. มูลนิธิศูนย์ชีวิตใหม่

มูลนิธิศูนย์ชีวิตใหม่ คือองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ก่อตั้งในปี 1987 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มสตรีชาวเขาที่ต้องเจอกับความไม่เท่าเทียมในครอบครัวและสังคมภายใต้แนวคิดชายเป็นใหญ่ และการเป็นคนชายขอบจึงทำให้กลุ่มสตรีชาวเขายิ่งถูกผลักให้กลายเป็นกลุ่มคนที่ถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรมมาอย่างยาวนาน ทั้งจากความรุนแรงในครอบครัว การทำร้ายร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศ ตลอดจนการค้ามนุษย์ 

มูลนิธิศูนย์ชีวิตใหม่จึงเข้ามาเพื่อการเยียวยาร่างกายและจิตใจ รวมถึงการจัดทำโครงการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและทักษะการดำรงชีพให้แก่กลุ่มสตรีชาวเขา 

  • ที่อยู่: ถนนเชียงใหม่ดอยสะเก็ด (118) ตำบลสันพระเนตร อำเภอสันทราย เชียงใหม่ 
  • ติดต่อ: 053-750-500
  • เว็บไซต์: https://newlifecenterfoundation.org/

 

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (มญช.)

5. มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (มญช.)

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (มญช.) คือองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มุ่งเน้นในการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เนื่องจากในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงต่างก็พบเจอกับปัญหาความรุนแรง และอคติทางเพศไม่น้อยเลย จึงทำให้มูลนิธิต้องการที่จะแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในหลากหลายมิติมากยิ่งขึ้น เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป 

  • ที่อยู่: ซอยรัชดาภิเษก 42-44 ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 
  • ติดต่อ: 02-513-2889
  • เว็บไซต์: https://www.wmp.or.th

 

สรุป

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นภัยเงียบร้ายแรงที่แอบแฝงอยู่ภายในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ ภายในครอบครัว กำลังค่อยๆ กัดกินสังคมไทยให้ต้องเผชิญกับผลกระทบที่เลวร้ายทั้งในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยความรุนแรงภายในครอบครัวอาจมาจากการทำร้ายเหยื่อให้ได้รับบาดแผลทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ในปัจจุบันหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาและต้องการที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 

Cheewid เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ไม่ต้องการให้สมาชิกในสังคมต้องพบเจอกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จึงร่วมกับองค์กร หน่วยงาน และมูลนิธิต่างๆ เพื่อการให้ความช่วยเหลือเหยื่อ และเพื่อเสริมสร้างให้สังคมมีความเข้มแข็งและน่าอยู่มากยิ่งขึ้น หากใครสนใจที่จะเข้ามาสนับสนุนหน่วยงาน มูลนิธิต่างๆ สามารถสนับสนุนผ่านการบริจาคและแบ่งปันความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ไปสู่คนในสังคมได้ผ่าน Cheewid ได้เลย

Reference:

  1. PrimoCare Medical. ปัญหา “ความรุนแรงในครอบครัว” หยุดได้ ถ้าทุกคนเข้าใจ. Primocare.com. Published 1 February 2022. Retrieved 3 December 2024.
  2. POBPAD. ปัญหาครอบครัว สาเหตุความขัดแย้งและแนวทางแก้ไข. pobpad.com. Retrieved 3 December 2024
  3. อภันตรี สาขากร. ปรับใจเข้าหากัน ลดความรุนแรงในครอบครัว. manarom.com. Retrieved 3 December 2024
  4. มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล. รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว ปี 2565. wmp.or.th. Published 13 June 2024. Retrieved 3 December 2024.

องค์กรเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้อง

logo-มูลนิธิเพื่อนหญิง

มูลนิธิเพื่อนหญิง

พิทักษ์สิทธิและให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติความรุนแรงจากภัยคุกคามทางเพศ และเสริมพลัง สร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้หญิง ตลอดจนรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงปัญหาที่ผู้หญิงเผชิญอยู่ในสังคมปัจจุบัน 
banner-ศูนย์ชีวิตใหม่

มูลนิธิศูนย์ชีวิตใหม่

มูลนิธิศูนย์ชีวิตใหม่ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ช่วยเหลือผู้หญิงที่เป็นผู้รอดชีวิตจากการล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว และการค้ามนุษย์ และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกหลอกลวง
logo-มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (มญช.)

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (มญช.)

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เป็นองค์กรที่มีเป้าหมายที่จะสร้างความเท่าเทียมเป็นธรรมระหว่างเพศ ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศโดยการมีส่วนร่วมของหญิงชาย ผ่านการบูรณาการการทำงานไปสู่การแก้ไขและป้องกัน
logo-SHero

SHero

พื้นที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่เหยื่อความรุนแรงทุกรูปแบบในสังคม โดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) ซึ่งถือเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่มีความรุนแรงหลายระดับ

banner-Freedom Restoration Project (FRP)
logo-Freedom Restoration Project (FRP)

Freedom Restoration Project (FRP)

ช่วยเหลือผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนไทย-แม่สอด เสริมพลังผู้หญิงและเด็กที่มีประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม