เข้าสู่ระบบ

Table of Contents
Recent Post
ความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในเมือง สมดุลระหว่างธรรมชาติและชีวิต
ความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในเมือง สมดุลระหว่างธรรมชาติและชีวิต

บทความนี้ CHEEWID จะทุกคมาทำความเข้าใจกับพื้นที่สีเขียวในเมืองมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตประชาชน โดยช่วยสร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติและการใช้ชีวิต ส่งเสริมให้เมืองเป็นที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพและยั่งยืนในระยะยาว

การส่งเสริมและปกป้องสิทธิเด็กจากความรุนแรงและการเอารัดเอาเปรียบ
การส่งเสริมและปกป้องสิทธิเด็กจากความรุนแรงและการเอารัดเอาเปรียบ

บทความนี้ CHEEWID จะพาทุกคนไปรู้จักกับสิทธิพื้นฐานของเด็กมีความสำคัญ เช่น การดูแลจากครอบครัว การเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และการดูแลทางการแพทย์ ช่วยให้เด็กเติบโตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทิ้งอย่างไรไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทิ้งอย่างไรไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

บทความนี้ CHEEWID จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมวิธีที่ทิ้งอย่างถูกวิธีเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดี เพราะขยะอิเล็กทรอนิกส์มีสารพิษที่อาจทำลายดินและน้ำ การกำจัดอย่างถูกวิธีจะช่วยลดผลกระทบได้

เรื่องราวของสายพันธุ์ข้าวในประเทศไทย ความหลากหลายที่สร้างมูลค่า
เรื่องราวของสายพันธุ์ข้าวในประเทศไทย ความหลากหลายที่สร้างมูลค่า

บทความนี้ CHEEWID จะพาทุกคนมารู้จักกับสายพันธุ์ข้าวในประเทศไทย ช่วยให้เข้าใจคุณค่าของข้าวไทย ทั้งในด้านรสชาติ คุณค่าทางโภชนาการ และความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศ

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทิ้งอย่างไรไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

บทความนี้ CHEEWID จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมวิธีที่ทิ้งอย่างถูกวิธีเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดี เพราะขยะอิเล็กทรอนิกส์มีสารพิษที่อาจทำลายดินและน้ำ การกำจัดอย่างถูกวิธีจะช่วยลดผลกระทบได้
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทิ้งอย่างไรไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
Table of Contents

 

Key Takeaway

  • ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) คือ ซากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งาน ซึ่งมีสารพิษอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
  • ตัวอย่างประเภทของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า และแบตเตอรี่
  • ผลกระทบของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การปนเปื้อนสารพิษในดินและน้ำ ซึ่งอาจทำลายระบบนิเวศ สุขภาพมนุษย์ และเพิ่มความเสี่ยงจากโรคมะเร็งและพิษตะกั่ว
  • วิธีกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การรีไซเคิลผ่านโรงงานที่มีเทคโนโลยีเหมาะสม การบริจาคอุปกรณ์ที่ยังใช้งานได้ และการนำไปกำจัดที่สถานที่ที่มีการจัดการอย่างถูกต้อง

 

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) คือปัญหาที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การทิ้งหรือกำจัดขยะเหล่านี้ไม่ถูกวิธีสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้ ดังนั้นการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้การกำจัดขยะนี้เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ส่งผลเสียต่อโลกและผู้คนในระยะยาว

 

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร? มีอะไรบ้าง?

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร? มีอะไรบ้าง?

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Waste หรือ E-Waste) หรือที่เรียกว่า WEEE (Waste from Electrical and Electronic Equipment) คือ ซากเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กในการทำงาน ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน (Off-spec) หรือหมดอายุการใช้งานและล้าสมัย

อุปกรณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์มักประกอบด้วยชิ้นส่วนที่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้และมีสารประกอบที่เป็นพิษ เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้ถูกทิ้งหรือส่งต่อไปยังร้านรับซื้อของเก่าหรือรถรับซื้อของเก่า ชิ้นส่วนจะถูกคัดแยกและนำไปกำจัดต่อไป ซึ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง สามารถแบ่งประเภทของขยะเหล่านี้ออกตามลักษณะของอุปกรณ์ ดังนี้

  • ขยะอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ และโทรทัศน์
  • ขยะอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต เครื่องคิดเลข และเครื่องพิมพ์
  • อุปกรณ์โทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์เครือข่าย
  • เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องเอกซเรย์ เครื่องวัดชีพจร และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ
  • ขยะอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ และแผงวงจร

ผลกระทบของขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

ผลกระทบของขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 

ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ดังนี้

ผลกระทบและอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

  • การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบอาจทำให้สารพิษปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม โดยสารเหล่านี้จะตกค้างในดินและแหล่งน้ำ จากนั้นแทรกซึมเข้าสู่ระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร
  • การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการเผาอาจทำให้เกิดกลิ่นเหม็นไหม้และปล่อยก๊าซอันตราย เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ สารไดออกซิน และฟูแรน ซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็ง
  • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสารทำความเย็นจากซาก E-Waste สามารถทำลายชั้นโอโซนและมีส่วนในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน 

ผลกระทบและอันตรายต่อสุขภาพ

ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีสารพิษที่อันตราย ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยสารเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายและทำลายระบบต่างๆ เช่น

  • ตะกั่วสามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ และหากสะสมในร่างกายอาจก่อให้เกิดโรคพิษตะกั่ว ซึ่งมีพิษทำลายระบบประสาท ระบบเลือด การทำงานของไต และระบบสืบพันธุ์
  • สารปรอทสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง รวมถึงอาการอาเจียน ท้องร่วง และความจำเสื่อม อีกทั้งยังทำให้หัวใจเต้นอ่อนลง และมีผลกระทบต่อระบบประสาท สมอง ไต และปอด
  • แคดเมียมสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง อาการท้องร่วง และอาเจียน รวมถึงส่งผลกระทบต่อไต กระดูก และปอด
  • โครเมียมเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง
  • สารทำความเย็นสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและตา รวมถึงอาการปวดศีรษะ และหัวใจเต้นเร็ว
  • สารหน่วงไฟสามารถมีผลกระทบต่อฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตและพัฒนาการ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

 

สถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

สถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากปริมาณ E-Waste ในไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี ภายใน 5 – 10 ปี ประเทศไทยอาจเผชิญกับ “วิกฤตขยะอิเล็กทรอนิกส์” ที่ล้นเมือง ในขณะที่อัตราการรีไซเคิลในประเทศไทยยังคงต่ำเพียงแค่ 15% เท่านั้น

การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีแนวทางในการนำกฎหมายและแนวคิดต่างๆ เช่น หลัก 3R หลัก EPR และแรงจูงใจทางเศรษฐกิจมาบูรณาการใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหา ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ได้บังคับใช้ หากมีผลบังคับใช้ จะช่วยปกป้องประชาชนและสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของโลหะหนักได้

 

แนวทางกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

แนวทางกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

มีวิธีกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์และแนวทางที่เลือกทำได้หลายวิธี เพื่อให้การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย ดังนี้

ลดปริมาณการใช้

ลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มต้นจากการลดการบริโภคตั้งแต่ต้นทาง ควรหลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น โดยก่อนตัดสินใจซื้อควรพิจารณาความจำเป็นและการใช้งานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่างรอบคอบ

สำหรับการซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความทนทาน เพื่อยืดอายุการใช้งานและลดความต้องการในการทิ้งขยะ

นำมาใช้ซ้ำ

ซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยการซ่อมแซมให้ผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม แทนที่จะทิ้งไป

บริจาคขยะอิเล็กทรอนิกส์

บริจาคหรือส่งต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว แต่ยังสามารถใช้งานได้ เป็นวิธีที่ช่วยลดขยะและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

หากอุปกรณ์ยังสามารถใช้งานได้ดีและไม่มีปัญหา เราสามารถบริจาคให้กับบุคคลที่ต้องการหรือองค์กรที่มีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานต่อไป หรือรีไซเคิลอย่างเหมาะสม

 

 

รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์

หากเรามีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสียแล้ว ไม่จำเป็นต้องทิ้งทันที แต่สามารถพิจารณานำไปรีไซเคิลที่โรงงานที่มีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่เหมาะสม สำหรับการแยกชิ้นส่วน รีไซเคิล และกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การรีไซเคิลยังช่วยลดปริมาณขยะและรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน

คัดแยกจากขยะทั่วไป

การคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งสำคัญ เราควรแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะทั่วไป และนำไปทิ้งในสถานที่ที่มีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถนำไปกำจัดอย่างปลอดภัย โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ไม่แกะหรือแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์

ไม่ควรแกะหรือแยกชิ้นส่วนซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงแบตเตอรี่มือถือและแบตเตอรี่รถยนต์ เพราะอาจทำให้สารอันตรายรั่วไหลออกมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้

สรุป

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) คือ ซากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งาน เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือทีวี ขยะเหล่านี้มีสารพิษที่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียม ซึ่งอาจทำลายระบบประสาท ระบบเลือด และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หากกำจัดไม่ถูกวิธี ตอนนี้ในประเทศไทยปริมาณ E-Waste มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่การรีไซเคิลยังคงต่ำเพียง 15% ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

โดยหลายองค์กรการกุศลมีการแก้ไขปัญหาผ่านการเปิดรับบริจาคอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยังใช้งานได้ เพื่อนำไปซ่อมแซมและแจกจ่ายให้ผู้ด้อยโอกาส หรือรีไซเคิลอย่างถูกวิธี หากต้องการบริจาคหรือขายขยะอิเล็กทรอนิกส์ สามารถค้นหาองค์กรหรือมูลนิธิที่รับได้ผ่านทาง Cheewid เช่น ฮีโร่รีไซเคิล by Green2Get Wake Up Waste Recycle Day Thailand และ WASTE BUY Delivery เป็นต้น

องค์กรเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้อง

banner-WASTE BUY Delivery

WASTE BUY Delivery

WASTE BUY Delivery ช่วยตอบสนองปัญหากลุ่มคนบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงจุดจำหน่ายขยะได้ เนื่องจากมีการคัดแยกแต่ไม่มีที่เก็บ และไม่ทราบสถานที่รับซื้อขยะ สนับสนุนให้เปลี่ยนขยะในบ้านให้กลายเป็นเงิน เปลี่ยนของเสียเป็นของดี เปลี่ยนรายจ่ายเป็นรายรับ เพื่อสร้างสิ่งที่ดีให้กับชุมชนและเมือง

banner-Recycle Day Thailand
logo-Recycle Day Thailand

Recycle Day Thailand

Recycle Day Thailand เป็นระบบเรียกรถจัดการขยะแบบครบวงจรที่มีคู่มือสอนการแยกขยะอย่างง่าย มีแอปพลิเคชั่นให้เรากดเรียกรถมารับขยะถึงบ้าน นอกจากนี้ยังมีจุดทิ้งขยะใกล้ๆ ให้เราไปส่ง ในแอปพลิเคชั่นจะบันทึกว่าเราแยกขยะไปแล้วเท่าไหร่ ซึ่งขยะเหล่านั้นได้พอยต์สำหรับแลกของรางวัลหรือได้เงินคืน

banner-Wake Up Waste
logo-Wake Up Waste

Wake Up Waste

Wake Up Waste คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการซื้อขายขยะรีไซเคิล และรถบีบอัดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง ที่จะช่วยให้กระบวนการตั้งแต่ต้นทางไปจนสู่การรีไซเคิลครบวงจร ในแอปพลิเคชั่น Wake Up Waste ร้อมออกใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ และสรุปรายงานภาพรวม (Summary Report) รวมถึงสามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกแต้มเป็นเงินหรือเป็นสินค้าได้

ฮีโร่รีไซเคิล by Green2Get

ฮีโร่รีไซเคิล by Green2Get เป็นแอปพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์ทุกด้านของธุรกิจรีไซเคิล ตั้งแต่การเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายวัสดุประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงกับโรงงานรีไซเคิลทุกประเภท ตั้งแต่ ซาเล้งรายย่อย จนถึง โรงงานรีไซเคิล ฮีโร่รีไซเคิล จะเชื่อมโยงทุกคนเข้าด้วยกันด้วยระบบที่สามารถกำหนดได้เอง เป็นศูนย์รวมเครื่องมือประกอบธุรกิจ