เข้าสู่ระบบ

Table of Contents
Recent Post
รวมงานผู้สูงอายุทำที่บ้านได้ ทำงานคลายเหงา พร้อมส่งเสริมสุขภาพจิต
รวมงานผู้สูงอายุทำที่บ้านได้ ทำงานคลายเหงา พร้อมส่งเสริมสุขภาพจิต

บทความนี้ CHEEWID จะพาไปอัปเดตสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุในไทย พร้อมรวมไอเดียงานสำหรับผู้สูงอายุวัย 50-60 ปีที่ยังมีไฟอยากทำงานอยู่ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

รวม 10 แบรนด์สุราไทย เมรัยรสเลิศถูกปากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
รวม 10 แบรนด์สุราไทย เมรัยรสเลิศถูกปากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ

บทความนี้ CHEEWID จะพาไปทำความรู้จักประวัติความเป็นมาของสุราไทย พร้อมทำความรู้จักประเภทสุราไทยที่น่าสนใจ และแบรนด์สุราไทยรสเลิศที่น่าจับตามอง

ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตัวช่วยกระจายรายได้สู่ครัวเรือนผ่านสินค้าในท้องถิ่น
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตัวช่วยกระจายรายได้สู่ครัวเรือนผ่านสินค้าในท้องถิ่น

บทความนี้ CHEEWID จะพาไปทำความรู้จักว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร พร้อมแนะนำเพื่อนำไปต่อยอดไอเดีย สร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น

รวม 20 หนังสะท้อนสังคมไทย มุมมองที่ถูกซ่อนไว้วิพากษ์วิจารณ์สังคม
รวม 20 หนังสะท้อนสังคมไทย มุมมองที่ถูกซ่อนไว้วิพากษ์วิจารณ์สังคม

สำหรับบทความนี้ CHEEWID ขอแนะนำหนังเสียดสีสังคม ที่เปรียบเป็นกระจกสะท้อนความจริงที่ไม่มีใครกล้าพูด! ดำดิ่งสู่โลกแห่งหนังสะท้อนสังคมไทย ชวนตั้งคำถามกับความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียม และความอยุติธรรมที่กัดกินสังคม มีเรื่องไหนที่น่าสนใจบ้างมาดูกัน

ชวนมาเรียนรู้แนวคิด McKinsey 7-S Model

CHEEWID อยากชวนองค์กรทำงานเพื่อสังคมมาเรียนรู้เครื่องมือสำหรับใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรด้วย McKinsey 7-S model
Table of Contents

McKinsey 7-S model ของ McKinsey Consulting สามารถใช้แก้ปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงานส่วนใหญ่ภายในองค์กรหรือทีมงาน ที่เกิดจากความขัดข้องจากการทำงานในบางส่วนหรือความไม่ลงรอยระหว่างกัน ซึ่งเราสามารถใช้โมเดลนี้เพื่อค้นหาต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้น และหาวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านั้น เพื่อให้องค์กรหรือทีมงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จะใช้ 7-S Model จัดการสถานการณ์ภายในองค์กรของเราได้บ้าง?

7-S Model ของ McKinsey สามารถใช้ได้กับองค์ประกอบต่างๆ ของทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นบุคคล อุปกรณ์ หรือแผนการทำงาน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมุ่งเน้นการใช้งานไปที่ส่วนใดเป็นหลัก ซึ่งส่วนมากจะใช้ในเรื่องต่อไปนี้

  • พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร
  • วิเคราะห์และคาดการณ์ผลลัพธ์บางประการที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัทในอนาคต
  • จัดการแผนกหรือส่วนต่างๆ ขององค์กรหลังจากที่มีการควบรวมหรือการซื้อต่อกิจการ
  • เลือกการดำเนินการที่เหมาะสมที่สุด ที่จะใช้ในแผนการต่างๆ

4 แนวทางเพื่อทำความเข้าใจ McKinsey 7-S Model

4 แนวทางเพื่อทำความเข้าใจ McKinsey 7-S Model ก่อนนำไปใช้กับองค์กรและทีมงาน

ก่อนที่จะนำ McKinsey 7-S Model ไปใช้กับองค์กรและทีมงาน เราได้สรุป 4 แนวทาง เพื่อช่วยให้ทำความเข้าใจแนวคิดนี้ และได้สร้าง Template สำหรับนำไปใช้งานได้ง่ายขึ้น ดังนี้

  1. เข้าใจแนวคิดพื้นฐาน รายละเอียดของ McKinsey 7S และใช้แนวทางคำถามที่เราทำไว้ เพื่อพิจารณาสถานะปัจจุบัน (Organization Current State) ขององค์กรและทีมงาน
  2. แยกความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยรูปธรรม (Hard Elements) และปัจจัยนามธรรม (Soft Elements)
  3. กำหนดสถานะเป้าหมายขององค์กร (Organization Target State) โดยศึกษาจากองค์กรอื่นที่ประสบความสำเร็จในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมหรือการเปลี่ยนแปลงองค์กร (Market Research)
  4. กำหนดการเปลี่ยนแปลงที่องค์กรควรมี ให้ทบทวนกรอบงาน 7S อย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าใจช่องว่างระหว่างปัจจุบันกับเป้าหมาย และสร้างแผนปฏิบัติการ (Action Plan)

รายละเอียดของ McKinsey 7-S Model

รายละเอียดของ McKinsey 7-S Model

McKinsey 7-S Model ประกอบไปด้วยปัจจัยทั้ง 7 ข้อ ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร ได้แก่

  • กลยุทธ์ (Strategy) แผนการสำหรับการดำเนินการต่างๆ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันหรือสร้างแรงผลักดันให้กับองค์กร
  • โครงสร้าง (Structure) โครงสร้างขององค์กรที่ระบุตำแหน่งและหน้าที่ของแต่ละคน รวมไปถึงใครจะต้องทำงานร่วมกับใครและรับคำสั่งจากใคร
  • โครงสร้างระบบ (Systems) การดำเนินงานในแต่ละวันของแต่ละหน้าที่ รวมไปถึงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้งานที่ทำร่วมกัน สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
  • สไตล์ (Style) ลักษณะของการปกครองและการวางตัวของผู้นำองค์กร
  • บุคคล (Staff) บุคลากรทุกคนที่ทำงานให้องค์กร แผนการจัดบุคลากร และการบริหารจัดการคน (Talent Management)
  • ความสามารถ (Skills) ความสามารถในภาพรวมของบุคลากร และความสามารถขององค์กรในการประกอบการต่างๆ
  • ค่านิยมร่วม (Shared Values) เราอาจเรียกสิ่งนี้ว่า “เป้าหมายสูงสุดขององค์กร” ซึ่งในตัวของปัจจัยนี้แต่ละคนทั้งคนภายในและภายนอกองค์กรมักมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน แต่จุดร่วมของปัจจัยนี้ก็คือทุกๆ คนจะสามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากความสำเร็จขององค์กรได้อย่างไร

McKinsey 7-S Model ทั้ง 7 ข้อ อาจจะแยกเป็นอิสระจากกันหรืออาจจะมีความเกี่ยวข้องกันบางประการ (ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไปใช้งาน) โดยแบ่งปัจจัยทั้ง 7 ข้อออกเป็นสองส่วน ได้แก่ “hard ปัจจัยรูปธรรม” กับ “soft ปัจจัยนามธรรม”

ข้อแตกต่างระหว่าง Hard และ Soft Elements

ข้อแตกต่างระหว่าง Hard และ Soft Elements ตามปัจจัยแรงผลักดัน

Hard Elements

“Hard ปัจจัยรูปธรรม” ปัจจัยเหล่านี้เป็น ปัจจัยที่มีลักษณะเหมือนสิ่งของหรือองค์ประกอบที่สามารถจับต้องได้ สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงได้โดยตรงหากต้องการ และเมื่อทำการแก้ไขหรือปรับปรุงแล้ว องค์ประกอบเหล่านี้จะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งหากจะยกตัวอย่างของสิ่งที่จัดเป็นปัจจัยรูปธรรมก็อย่างเช่น กำหนดการณ์การดำเนินงาน ผังแสดงโครงสร้างองค์กร รายงานผลประกอบการ บันทึกหรือระเบียบขั้นตอนการทำงาน รวมไปถึงระบบจัดการด้านสาธารณูปโภคต่างๆ (น้ำประปา ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ) 

  1. กลยุทธ์ (Strategy)
  2. โครงสร้าง (Structure)
  3. โครงสร้างระบบ (Systems)

Soft Elements

“Soft ปัจจัยนามธรรม” ปัจจัยนามธรรมนั้นส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับส่วนของความรู้สึกของผู้คน มักเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้หรือในบางกรณีก็มักจะเป็นปัจจัยที่เกิดมาจากผลกระทบของสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และประเพณีของผู้คนในท้องที่นั้นๆ ปัจจัยในส่วนนี้จะแตกต่างจากปัจจัยรูปธรรมค่อนข้างมาก แต่มีความสำคัญเท่ากันในแง่ของการจัดการองค์กร

  1. สไตล์ (Style)
  2. บุคคล (Staff)
  3. ความสามารถ (Skills)
  4. ค่านิยมร่วม (Shared Values)

แนวทางคำถามในการใช้แนวคิด McKinsey 7-S Model วิเคราะห์องค์กร

เมื่อเข้าใจรายละเอียดของ McKinsey 7-S Framework และความแตกต่างระหว่าง Hard ปัจจัยรูปธรรม และ Soft ปัจจัยนามธรรม ให้ตอบคำถามที่เตรียมไว้ใน Template ทั้ง 2 ดังต่อไปนี้

 

Template คำถามสำหรับวิเคราะห์องค์กรด้วย McKinsey 7-S Framework

Template คำถามสำหรับวิเคราะห์องค์กรด้วย McKinsey 7-S Framework

ปัจจัยรูปธรรม (Hard Elements)

  • องค์ประกอบที่จับต้องได้ คืออะไร?
  • ผู้บริหารสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้โดยตรงหรือไม่?
  • มีการจดบันทึกรายงาน หรือเอกสารอ้างอิงหรือไม่?

ปัจจัยนามธรรม (Soft Elements)

  • องค์ประกอบที่จับต้องยากและต้องสัมผัสด้วยประสบการณ์มีอะไรบ้าง?
  • ปัจจัยที่ทำให้วัฒนธรรมองค์กร เป็นเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลงคืออะไร?

 

Template คำถามสำหรับวิเคราะห์องค์กรด้วย McKinsey 7-S Framework

Template คำถามสำหรับวิเคราะห์องค์กรด้วย McKinsey 7-S Framework

McKinsey 7S Framework

  1. กลยุทธ์ (Strategy) 
    • แผนการดำเนินงานของเราคืออะไร?
    • เราจะทำเป้าหมายของเราให้สำเร็จได้อย่างไร?
    • เราจะจัดการความกดดันจากการแข่งขันอย่างไร?
    • เราตอบรับต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร?
    • เราจะปรับเปลี่ยนแผนการตามสภาพแวดล้อมอย่างไร?
  2. โครงสร้าง (Structure) 
    • เราจะแบ่งองค์ประกอบหรือแผนกการทำงานขององค์กรอย่างไร?
    • เราจะปกครองคนในองค์กรด้วยระบบไหน?
    • แต่ละแผนกหรือภาคส่วนจะมีกิจกรรมหรือการดำเนินการร่วมกันอย่างไร?
  3. โครงสร้างระบบ (Systems) 
    • ระบบการทำงานหลักขององค์กรคืออะไร?
    • ใครคือผู้ควบคุมระบบเหล่านี้?
  4. สไตล์ (Style) 
    • สไตล์การบริหารที่ใช้อยู่เหมาะสมกับองค์กรมากน้อยแค่ไหน?
    • ความเป็นผู้นำของผู้บริหารส่งผลต่อการดำเนินงานแค่ไหน?
    • บุคลากรมีลักษณะที่ชอบการแข่งขันหรือให้ความร่วมมือ?
  5. บุคคล (Staff) 
    • มีตำแหน่งงานที่เหมาะสมแก่บุคลากรลงในตำแหน่งไหม?
    • องค์กรยังขาดบุคลากรด้านไหน?
    • มีความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคลากรภายในองค์กรไหม?
  6. ความสามารถ (Skills) 
    • ความสามารถที่เป็นจุดเด่นขององค์กรคืออะไร?
    • สิ่งที่บุคลากรมองว่าพวกเขาสามารถทำได้ดีคืออะไร?
  7. ค่านิยมร่วม (Shared Values)
    • ระบบการทำงานหลักขององค์กรคืออะไร?
    • ใครคือผู้ควบคุมระบบเหล่านี้?

เมื่อตอบคำถามทั้งหมด ควรทำการวิจัยหรือเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่คล้ายคลึงกัน (วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางการตลาด หรือ Market Research) เกี่ยวกับวิธีการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงหรือวัฒนธรรมองค์กร เพื่อระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อเป้าหมายขององค์กร

ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่งเท่านั้น องค์กรสามารถปรับแต่งคำถามให้เหมาะสมกับเนื้อหาและบริบทได้ตามเหมาะสม

เริ่มทำแผนงานเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กร

Template สำหรับการวาง Framework เพื่อการเปลี่ยนแปลง

Template สำหรับการวาง Framework เพื่อการเปลี่ยนแปลง

สรุป

อย่างไรก็ตาม McKinsey 7-S Model ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จ แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อช่วยให้พัฒนาองค์กรให้ไปถึงเป้าหมายได้ จะดีกว่านี้หากองค์กรใช้แนวคิดหรือเครื่องมืออื่นๆ ร่วมด้วย

หากสนใจเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาองค์กร สามารถดูเพิ่มเติมได้ทาง Facebook page Cheewid https://bit.ly/4aXrD5g แล้วถ้าต้องการใช้เอกสารสำหรับนำไปพูดคุยกับคนในองค์กรสามารถดาวโหลดได้ที่ https://bit.ly/3dgBIRU 

ทำความรู้จักเรามากขึ้น

Logo_Square

Cheewid

แพลตฟอร์มองค์กรระบบคลาวด์ที่สนับสนุนองค์กรเพื่อสังคม เราเพิ่มโอกาสในความเท่าเทียมสำหรับนวัตกรรมทางสังคม และร่วมเป็นผู้รับรู้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม